มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - Printable Version +- NimitGuitar webboard (http://www.NimitGuitar.com/mybb) +-- Forum: Others (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=12) +--- Forum: Travel / Telling story (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=6) +--- Thread: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส (/showthread.php?tid=4052) |
RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - v74 - 23-06-2009 แหม มันช่างบังเอิญจริงๆครับ . . . RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - v74 - 01-07-2009 My fav places . . . RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - myakira - 13-07-2009 (20-05-2009, 17:18)Maew Wrote: ปล. เห็นกระทู้ป้ามุก ไปภูฏานมา อยากถามเหมือนกันว่า ชีวิตความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต, แนวคิดของคนที่นั่นเป็นยังไงบ้าง ป้ามุกมีอะไรเพิ่มเติมก็ยินดีนะครับ ขอโทษที่ตอบช้าไปมากครับน้า Maew แต่ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่คนที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีเพราะไปท่องเที่ยวแค่ไม่กี่วัน (ถ้าแบบคลุกคลีตีโมงต้องยกให้น้า Littlenomad ครับ) เอาเป็นว่าขอเล่าไปตามที่สองตาน้อยๆ จะมองเห็นและเท่าที่หัวใจดวงเล็กๆ ของผมจะสัมผัสได้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทัศนคติซึ่งกันและกันนะครับ แน่ละว่าตอนนี้ต้องมีคน 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในภูฐาน คือกลุ่มที่ยังยึดมั่นถือมั่นในแนวทางดั้งเดิม กับกลุ่มที่กระหายเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกยุคใหม่ ซึ่งผมไม่อาจฟันธงได้ว่ากลุ่มดั้งเดิมคือคนชราและกลุ่มหลังคือ Gen-X และ Gen-Y เพราะอย่างน้อยผมก็พบว่าไกด์และคนขับรถซึ่งมีอายุราว 30 ปี ยังมีแนวความคิดแบบนกน้อยทำรังแต่พอตัวอยู่ ผมพบว่าเขาเปิดรับเทคโนโลยีบางอย่างซึ่งจำเป็นกับการทำธุรกิจท่องเที่ยวเล็กๆ ของเขา แต่เขาก็ยังยึดมั่นในการทำความดีตามหลักพุทธศาสนานะครับ ไปเที่ยวมา 9 วัน พบทั้งคนที่ให้คือให้จริงๆ และคนโลภมาก สำหรับคนที่ให้จริงๆ ไกด์เล่าว่าเขาให้บนพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาว่าการทำดีอย่างหนึ่งคือการทำให้คนรอบข้างมีความสุขกายสบายใจ (ในสิ่งที่ถูกที่ควร) และความสุขจะกลับคืนสู่ผู้ให้ คล้ายๆ กับที่คนไทยเรียกว่าอิ่มใจหรืออิ่มบุญกระมังครับ สำหรับคนโลภส่วนหนึ่งที่พบคือพ่อค้าแม่ขาย ซึ่งมีทั้งชาวภูฐานเองและชาวอินเดีย ยกตัวอย่างเช่น ของชนิดเดียวกัน ถ้าขยันเดินถามราคาจะพบว่า vary ตั้งแต่ 15 ไปจนถึง 150 บาท ..พาลให้นึกว่าอยู่เมืองจีนยังไงยังงั้น ยุวชนภูฐานที่พบในเมืองหลวง ก็มีทั้งกลุ่มที่เห็นนักท่องเที่ยวแล้วปรี่เข้ามาฝึกภาษาอังกฤษด้วยการแบมือร้อง ?One dollar? ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และกลุ่มที่ดูเหมือนยังไม่คุ้นเคยต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า (หรือหน้าแปลก ???)กลุ่มแรกนี่ไล่ยังไงก็ไม่ไป ในขณะที่กลุ่มหลังเรียกยังไงก็ไม่มา ..กรรม.. วัยรุ่นเมืองกรุงทั้งชาย-หญิงไม่ต้องพูดถึง อย่าให้พ้น office hour .. เขาจะแปลงร่างจากชุดประจำชาติเป็นเสื้อยืดกางเกงยีนส์ทันทีครับ ปัญหานี้น้า Littlenomad เคยเล่าให้ฟังแล้วว่าคนภูฐานไม่ชอบนโยบายใส่ชุดประจำชาติเท่าไรนัก เพราะผ้าทอมือแต่ละชิ้นเป็นของที่มีราคาแพง ด้วยฐานะของคนทั่วไปซึ่งยากจนจึงนับเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนกายใจอย่างมาก ใน Phobjikha Valley อันเป็นเขตอพยพของเจ้านกกระเรียนคอดำตัวสวย ที่นี่ไม่มีสายไฟฟ้าเพราะเกรงว่านกจะบินมาติดตาย ชาวบ้านที่มีฐานะธรรมดาจึงต้องดำรงชีวิตด้วยเทียนไขและไม้ฟืน ฐานะดีหน่อยก็ใช้ solar cell ผมพบเด็กสาวคนหนึ่งเรียนอยู่ชั้น ป.5 เชื้อเชิญไปที่บ้านด้วยท่าทีมีไมตรีจิต แต่พอถึงบ้านจริงๆ ก็เริ่มแสดงความเป็นตัวตนด้วยการขอข้าวของที่ผมมีติดตัว ไม่ได้หนึ่ง ก็ขอสอง ขอไปเรื่อยๆ เมื่อผมบ่ายเบี่ยงสำเร็จและจะลากลับ เธอก็ยังไม่ลืมที่จะบอกว่าพรุ่งนี้เดินผ่านโรงเรียนเธอให้แวะเอาขนมไปฝากด้วย ..เธอให้ที่อยู่สำหรับส่งของจากเมืองไทยไปให้เธอด้วยครับ ผมเก็บที่อยู่ไว้แต่ผมไม่เคยติดต่อกลับไปอีกเลย ทุกวันนี้ได้แต่ภาวนาให้ดวงตาของเธอเห็นธรรมและหลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลส ซึ่งคงยากมากเพราะบ้านเธออยู่ใกล้โรงแรมที่แสนจะใหญ่โตหรูหรา (หรูหราแบภูฐานนะครับ) ในขณะที่บ้านเธอทั้งหลังเป็นกระต๊อบชั้นเดียวเท่ากับเตียง 6 ฟุต 4 เตียงเรียงกันแค่นั้น ..ผมไม่โทษเธอหรอกครับ... ในทางตรงข้าม ภาพชินตาตลอด 9 วันในภูฐาน ก็คือภาพของพุทธศาสนิกชนที่กราบอัษฎางคประดิษฐ์ตั้งแต่ตีนเขาไปจนถึงศาสนาสถานต่างๆ ซึ่งมักตั้งอยู่บนยอดเขาหรือบนหน้าผาสูง คนกลุ่มนี้มีทั้งหนุ่มสาวและเฒ่าชราเช่นกัน งานนี้หนังชีวิตครับ ..คงต้องสู้กันอีกยาวระหว่างโลกเดิมกับโลกใหม่ เรื่องนี้ผมมองว่ากรรมใครกรรมมัน บอกสอนกันก็ใช่ว่าจะได้ผล บางคนไม่สอนก็คิดออก คงได้แค่เอาใจช่วยให้ประเทศที่น่ารักนี้หาดุลยภาพที่เหมาะสมแก่ตัวเองและยังคงข้อดีจุดเด่นของตนไว้ได้อีกนานๆ เพราะโดยส่วนตัวผมก็เชื่อว่าความพอเพียงไม่ได้แปลว่ายอมรับสภาพหรือย่ำอยู่กับที่ แต่น่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยไม่ก่อปัญหาอื่นในภายหลัง ปัญหาคือมันอาจจะทำยากและไม่ทันใจ หรืออาจทำไปเพราะความไม่รู้ ส่วนพวกที่รู้แล้วยังทำนี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง เช่น ทำอ่าวนาง ปาย น่าน เชียงคาน ให้กลายเป็นข้าวสารหรือพัทยา ..ไม่พูดดีกว่า เดี๋ยวยาวครับ.. RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - Maew - 18-07-2009 ขอบคุณป้ามุกมากๆที่เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน นั่นก็แสดงว่า ในทางปฏิบัติแล้ว ภูฏานเองก็ยังมีปัญหาในการบริหารประเทศด้วยนโยบายแบบนี้อยู่เหมือนกัน เพราะโลกเราทุกวันนี้ มันมีสิ่งเย้ายวนใจมากมาย ทำให้หลายๆคนยึดติดกับเงินมากๆ แต่ก็ดูเหมือนว่า ในอีกด้านหนึ่ง ศาสนาก็ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจคนภูฏานไม่ให้เตลิดไปมากนักได้ในระดับหนึ่งเลยนะครับ ผมมองว่า ประเทศภูฏานเป็นกรณีที่น่าสนใจมากเลยนะครับ และไม่น่าจะมีประเทศไหนที่มีนโยบายบริหารประเทศลักษณะนี้อีก เราก็คงได้แต่เอาใจช่วยและติดตามกันต่อไปครับ RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - Maow - 31-07-2009 (08-06-2009, 11:52)Maew Wrote: ขอบคุณครับ และแล้วผมก็ใช้เวลายามที่ไม่วุ่นวายอ่านหนังสือ "เดินสู่อิสระภาพ" ของ อ.ประมวล จนจบแล้วครับ เป็นหนังสือที่น่าติดตามอ่านอย่างไม่มีตอนเบื่อครับ ได้สาระหรือแก่นสารของความกลมกลืนกันระหว่างคน หรือ มนุษย์ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันบนโลกที่ไม่ค่อยจะกลมนักสักเท่าไหร่ใบนี้ แต่ด้วยความคิดหรือความฝัน ถ้าหากทุกคนมีจิตใจที่เมตตา โอบอ้อมอารี รักทุกคนเหมือนญาติสนิท โลกนี้ก็คงเป็นโลกที่น่าอยู่และเป็นไปด้วยความมีไมตรีหรือมิตรภาพอย่างไร้ขอบเขต แต่ด้วยสิ่งที่มีอำนาจ และมีมนต์ตราทำให้ทุกอย่างบนโลกใบนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นอย่างที่เราอยากจะให้เป็นสักเท่าไหร่ อาจกล่าวได้ว่า เงิน เป็นสิ่งที่ทุกคนใคร่ใฝ่หาและเป็นตัวที่มีอำนาจบดบังหรือครอบงำจิตใจของมนุษย์ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามมันก็คงจะเป็นวัฎจักรอย่างนี้หรือเป็นความจริงที่ทุกคนต้องยอมรับ แต่หากแม้แต่ละคนหันมามองคนที่อยู่ข้างๆ แล้วมอบมิตรหรือไมตรี รวมถึงความจริงใจแก่กัน การเชื่อมหรือสมานใจเข้าด้วยกันก็คงเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ความฝัน ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วผมยอมรับว่าผมน้ำตาคลอเบ้าอยู่ 2 รอบ คือในช่วงเริ่มต้นหนังสือ และช่วงของบทสุดท้ายได้แก่ช่วงของหนังสือคือบท "กลับบ้าน" มันเป็นความรู้สึกของคนที่มีความลึกซึ้งทางด้านปรัชญาของการมองชีวิตของตัวเอง ความเชื่อความศรัทธาที่มีมาอย่างไม่มีความเสื่อมคลายตลอดเลยทั้งชีวิต การที่คนๆ หนึ่งเก็บผงดิน ณ บริเวณ บ้านเกิด เอาไว้กับตัวไม่ว่าจะเดินทางไปไหน เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงอยู่เสมอว่าเรามาจากไหน และสักวันเราจะต้องกลับไปที่นั้น ช่างเป็นกุศโลบาย และเป็นปรัชญาที่แยบคาย และผมยังได้รู้สึกเข้าใจถึงคำว่า "ไม่ว่าเราจะอายุมากขนาดไหนก็ตาม แต่ในสายตาของคนที่เลี้ยงดูเรามา เราก็ยังเป็นเด็กน้อยที่น่าทนุถนอม ของท่านนั้นๆ อยู่อย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย" มันช่างเป็นความอบอุ่นที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย และผมก็เชื่อว่ามันจะเป็นอยู่อย่างนี้ไปตลอดการ ด้วยความผูกพันและความรักที่ก่อตัวขึ้นทางสายเลือดและสืบทอดต่อกันไปจากรุ่นหนึ่ง ถึงอีกรุ่นหนึ่ง หรืออาจเป็นการปลูกฝังที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่มันค่อยแผ่นซ่านเข้าไปภายในจิตใจของเราวันละเล็กละน้อย แต่อย่างไรก็ตามผมก็ยังชอบในอีกวลีหนึ่งที่ อ.ประมวล ได้กล่าวให้กับผู้ที่ถามว่าความหมายของ ปรัชญา คืออะไร และปรัชญาอันไหนดีที่สุด ซึ่งคำว่าปรัชญาก็เป็นคำที่เข้าใจกันดีว่าเป็นความคิด หรือความเชื่อของคนแต่ละคน ที่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดี โดยแต่ละคนก็จะมีความเชื่อหรือปรัชญาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับคนแต่ละคน ซึ่งผมก็คิดว่ามันค่อนข้างที่จะเป็นบทสรุปที่ค่อนข้างจะลงตัว เนื่องจากว่าภูมิหลังของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การดำเนินชีวิตก็แตกต่างกัน หากเพียงแต่ถ้าแต่ละคนมีปรัชญาในด้านที่ดี และใช้ด้านที่ดีนั้นมาเกื้อกูลกัน ความสงบ หรือความมีมิตรภาพก็คงจะเกิดขึ้นและยากที่จะเสื่อมคลาย...ผมเชื่อเช่นนั้น... RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - napman - 31-07-2009 Hi Maow, I just finished this book yesterday, to me this book is another "Gem". But again "One man's treasure is another man's trash" I tried to read this book only one chapter per day to really understand each word as much as I could and I think I succeeded that purpose. Again, have to thank "Maew" for opening my eyes to this book. I can say without any embarrassment that I had to stop reading so many times just to clear the tears from my eyes, call me "crying old man" if you will, I couldn't care less. I wish at least another 2 person would have a chance to read this book. I'll makie it happen for Hattaya and Muk. They deserved to read this one. I'll be seeing you in Chiangmai if it's supposed to be. RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - Maew - 01-08-2009 ขอบคุณน้าหม่าวและน้าnap ที่เข้ามาให้ความเห็น ผมได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากหนังสือเล่มนี้ และได้ตอบคำถามบางส่วนที่ผมตั้งคำถามกับตัวเองมาตลอด อย่างไรก็ตาม ใจนึงผมก็ยังคิดอยู่ว่า การเดินทางของอ.ประมวลออกจะอันตรายอยู่มากทีเดียว และก็ชวนให้คิดไปว่า ถ้าอาจารย์ไม่ได้เป็นอาจารย์ แต่เป็นชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีความรู้อะไร จะได้รับการต้อนรับและความเอื้อเฟื้อแบบนี้หรือไม่, การเดินทางจะบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ กระนั้น ตัวอาจารย์เองก็เตรียมใจไว้แล้วสำหรับทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น แม้ว่า มันอาจจะอันตรายถึงชีวิต ผมคิดไปว่า แค่ได้อ่านตัวหนังสือที่อาจารย์ถ่ายทอดออกมา ยังสัมผัสสิ่งที่เป็นนามธรรมได้หลายๆอย่าง สำหรับตัวอาจารย์เองที่ได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้นด้วยตนเอง คงเข้าถึงอะไรอีกมากมายที่เหนือคำบรรยาย ผมชอบตอนที่คนเก็บขยะสองคนเลี้ยงข้าวอาจารย์ และอาจารย์มาพบว่า สามีภรรยาคู่นี้ไม่มีแม้แต่ที่อยู่ที่จะให้อาจารย์ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ให้ มันช่างขัดกับสังคมที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เหลือเกิน.. ขอบคุณและยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนกับน้าหม่าวและน้าnap ครับ RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - karn - 01-08-2009 (31-07-2009, 15:26)Maow Wrote: หากเพียงแต่ถ้าแต่ละคนมีปรัชญาในด้านที่ดี และใช้ด้านที่ดีนั้นมาเกื้อกูลกัน ความสงบ หรือความมีมิตรภาพก็คงจะเกิดขึ้นและยากที่จะเสื่อมคลาย...ผมเชื่อเช่นนั้น... ผมก็เชื่อเช่นนั้นครับ RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - Maow - 01-08-2009 ผมมีความเห็นพ้องกับน้า Maew ในประเด็นที่ว่า หากคนคนหนึ่งที่เดินไปไม่มีความรู้ ไม่มีวาทะในการพูดคุย ไม่มีการศึกษา และคนอื่นก็ไม่รู้ถึงหัวนอนปลายเท้า สิ่งใดๆที่อ.ประมวลได้รับอาจไม่ใช่อย่างที่บรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือใช่ไหม????? แล้วคนที่อาจารย์พบมีเพียงเท่านี้ใช่หรือไม่ตลอดการเดินทางร่วม 2 เดือน แล้วคนที่ไม่ได้เขียนถึง เป็นคนที่แสดงกริยาหรือไม่มีความเป็นมิตร หรือแสดงความกักขระต่ออาจารย์ใช่หรือไม่????? แต่อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ก็แสดงให้เห็นว่า คนที่เป็นมิตร คนที่ช่วยเหลือคนอื่นในยามยาก คนที่เห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็ยังคงมีอยู่ แม้จะอยู่ตามซอกหลืบของสังคม แต่ก็ยังเป็นหมู่มวลมหามิตรที่ยังคงทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ และยังพอหาคำว่า น้ำใจ เห็นอกเห็นใจ โอบอ้อม อารี ได้อยู่ในสังคมไทย................ RE: มุมหนึ่ง..ในลอสแองเจลลิส - napman - 01-08-2009 [quote='Maow' Maow, I totally agree with you and Maew here; ผมมีความเห็นพ้องกับน้า Maew ในประเด็นที่ว่า หากคนคนหนึ่งที่เดินไปไม่มีความรู้ ไม่มีวาทะในการพูดคุย ไม่มีการศึกษา และคนอื่นก็ไม่รู้ถึงหัวนอนปลายเท้า สิ่งใดๆที่อ.ประมวลได้รับอาจไม่ใช่อย่างที่บรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือใช่ไหม????? And for this question; แล้วคนที่อาจารย์พบมีเพียงเท่านี้ใช่หรือไม่ตลอดการเดินทางร่วม 2 เดือน แล้วคนที่ไม่ได้เขียนถึง เป็นคนที่แสดงกริยาหรือไม่มีความเป็นมิตร หรือแสดงความกักขระต่ออาจารย์ใช่หรือไม่????? Agree with you here too, but for one reason I believe he left those off because they were not worth mentioning in his book, and for another reason I believe he's the kind of person who habitually praises the good deed of people and mums the words for the opposite ones. As you know we'll never miss to find different kind of people all through our lives and sometimes or most of the time we tend to ignore the ones that have ill feeling toward us and even toward the whole world. He did mention very few though, but he carefully used the lukewarm words in stead of out right harsh word for those people. I guess he just looks and considers at those people as 1 of those 4 kinds of lotus that we already knew in Buddhistm, you know, the kind that were born and stay right at the bottom of the pool and will eventually be the food of turtles, crabs and fish. All in all, this is a very good book (at least for few of us) to spend our precious time absorbing and analyzing it to the core and gave us some thoughts for our future and such. |