NimitGuitar webboard
เพลงพรปีใหม่ น้ำพระราชหฤทัย เเด่....ปวงประชา - Printable Version

+- NimitGuitar webboard (http://www.NimitGuitar.com/mybb)
+-- Forum: Others (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=12)
+--- Forum: Travel / Telling story (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=6)
+--- Thread: เพลงพรปีใหม่ น้ำพระราชหฤทัย เเด่....ปวงประชา (/showthread.php?tid=3808)



เพลงพรปีใหม่ น้ำพระราชหฤทัย เเด่....ปวงประชา - hattaya111 - 10-04-2009

เพลงพรปีใหม่


พระราชนิพนธ์เมื่อ : พ.ศ.2495

คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์



สวัสดีวันปีใหม่-พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์

ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสม นิยมยิน--ดี

ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี

โปรดประทานพรโดยปราณี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ทุกวัน ทุกคืน ชื่นชมให้สมฤทัย

ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี


ตลอดปีจงมีสุข---ใจ ต-ลอดไปนับแต่บัดนี้

ให้สิ้นทุกข์สุขเก-ษม เปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ



จากเพลงที่เราได้ยินจนคุ้นหู บางทีก็ไม่เคยรู้เพลงของใคร มายังไง เเต่งยังไง

วันนี้มีบทความ พรปีใหม่ นำมาฝากกันครับ

โดย วลัญช์ สุภากร ในส่วน กรุงเทพ วันอาทิตย์ ของ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ เล่าเรื่องเพลงพระราชนิพนธ์พรปีใหม่

โดยครูใหญ่ นภายน อีก จึงเรียบเรียงมาแสดงเพิ่มเติม ณ ที่นี้ครับ

บทเพลง 'พรปีใหม่' เป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย

เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2494 โดยมีวงดนตรี สุนทราภรณ์ และวงดนตรี ซียูแบนด์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รับสนองพระราชดำริบรรเลงบทเพลงนี้ในเวลาใกล้สองยามของวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2494
คุณ สมาน นภายน หรือ 'ใหญ่ นภายน' ในวัย 83 ปี อดีตข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำงานร่วมกับวงดนตรีสุนทราภรณ์
และอยู่ในเหตุการณ์คืนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2494 ย้อนอดีตให้ฟังว่า

...กรุงเทพฯ ยุคนั้น สาเหตุเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ไม่มีภาพยนตร์ใหม่ๆ เข้ามาฉายในประเทศไทย

แต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ออกคำสั่งห้ามโรงภาพยนตร์โรงมหรสพในกรุงเทพฯ เลิกการแสดง เพราะต้องการห้ประชาชนมีที่สำราญ

บำรุงขวัญ .....โรงภาพยนตร์ยุคนั้นต้องจ้างวงดนตรีไปเล่นสลับกับหนังเก่า แม้กระทั่งสงครามเลิกแล้ว โรงหนังก็ยังต้องจ้าง

วงดนตรีไปเล่นอยู่...
"ก่อนฉายหนัง เอาดนตรีเล่นก่อน 1 ชั่วโมง แล้วหนังถึงจะฉาย สมัยก่อนต้องเป็นอย่างนี้ทุกโรง ไม่งั้นไม่มีคนดู ต้องเอาดนตรีไปเล่น

วงไหนก็ได้ที่ดังๆ หนังจะได้เงินแค่ไหน อยู่ที่วงดนตรี"

...ปีใหม่ยุคนั้น ความสนุกสนานอยู่ตามโรงหนังต่างๆ มีการออกร้านรอบๆ โรงหนัง โรงหนังเฉลิมกรุงต้องมี

จำอวดมาเล่น ทุกโรงต่างคนต่างแย่งกันมีวงดนตรีมาเล่น สลับกันไม่รู้กี่วงต่อกี่วง ตั้งแต่หัวค่ำ

...สมัยนั้นโรงหนังอื่นๆ ที่ขึ้นชื่อลือชาไม่มี นอกจากเฉลิมไทย เฉลิมกรุง รองลงมาเฉลิมบุรี (สามแยก) หลุดจากเฉลิมกรุง

ก็มาเวิ้งนครเกษม นครสนุก (ตลาดคลองถมในปัจจุบัน) สมัยนั้น 'สยาม' ยังเป็นคลองคั่นอยู่ มีเรือมาขายนกขายงู

แถว 'ลิโด้' ยังเป็นสลัม มีรถรางวิ่งผ่านหน้า...

บังเอิญวันนั้น วงดนตรีสุนทราภรณ์ ไปเล่นสลับหนังที่ โรงหนังเฉลิมไทย ก็ประจวบกับที่ได้รับพระราชทานเพลง 'พรปีใหม่

"ไม่มีใครทราบใดๆ ทั้งสิ้นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานเพลง 'พรปีใหม่' ในวันนั้น ท่านทรงให้สำนักพระราชวังนำมา

ตกใจมากด้วยไม่คาดคิดว่าจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ"

จากนั้นทาง 'วงสุนทราภรณ์' ก็จัดการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อให้ฟังได้เป็นวงขึ้นมา เพื่อให้บรรเลงได้ด้วยเครื่องดนตรีเหล่านี้คือ

อัลโตแซ็ก 2 คัน เทนเนอร์แซ็ก 2 คัน บาริโทนแซ็ก 1 คัน ทรัมเป็ต 3 คัน ทรอมโบน 2 คัน

รวมกับเพอร์คัสชั่นซึ่งประกอบด้วย เปียโน
เบส กลอง และกีตาร์ รวมเรียกว่าวง 'บิ๊กแบนด์'

"แซ็กโซโฟนห้าคัน ต่างคนต่างเป่าคนละเสียง ถึงจะเป็นเสียงประสานออกมา..
...ไม่ได้ซ้อมกันเลย พวกผมที่เล่นดนตรี หากินกันมานานกว่าสิบปี ตั้งแต่ พ.ศ.2482 ตั้งวงโดยใช้ชื่อวง 'ลีลาศกรมโฆษณาการ'

ตอนนั้นต้องเล่นเพลงฝรั่งทั้งนั้นเลย โดย คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นผู้สั่งโน้ตเข้ามาจากเมืองนอก เขาเรียกโน้ตเซต คือมีเครื่องมือทุกชนิด
สมัยก่อน 35 บาท มีเครื่องดนตรี 10 ชิ้น แจกได้เลยแล้วก็เล่นได้เลย

...ครั้งนี้ต่างคนต่างมีไหวพริบของตัวเองที่เคยเห็นโน้ตมา คนที่เขียนเรียบเรียงก็อยู่ในวง สามารถถอดออกมาเดี๋ยวนั้นได้เลย

เป็นเครื่องมือต่างๆ โดยไม่ต้องทำสกอร์ เอาเมโลดี้มาวางไว้เลย ...

...เราได้รับทำนองและเนื้อเพลงประมาณห้าทุ่ม สองยามก็เล่นได้แล้ว ทำกันในราวหนึ่งชั่วโมง นักร้องก็ต่อเพลงกันเดี๋ยวนั้นเลย

นักร้องรุ่นนี้ก็ร้องเพลงกันมาฉ่ำปอดแล้ว ในคืนนั้นก็มีเช่น มัณฑนา โมรากุล ชวลีย์ ช่วงวิทย์ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เลิศ ประสมทรัพย์ วินัย จุลบุษปะ...
.
..ครูเอื้อ (เอื้อ สุนทรสนาน) เป็นหัวหน้าวง ท่านก็ร้องเป็นต้นเสียงด้วย ท่านมองโน้ตท่านก็ร้องได้เลย เพราะท่านเป็นนักดนตรี

วงเครื่องสายฝรั่งหลวง ซึ่งสถาปนาวงโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2467 เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต

ต่างคนต่างแยกย้ายตัว ต่างเป็นหัวหน้าวงต่างๆ หัวหน้า (ครูเอื้อ) ก็มาเป็นหัวหน้าของวงกรมโฆษณาการ

เล่ากันว่าในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยว่าอยากจะแต่งเพลงอวยพรให้แก่พสกนิกรของพระองค์ เป็นเพลงพระราชทานพรปีใหม่

พระองค์ทรงปรึกษาหารือกับ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
(ภายหลังสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ)

เมื่อทรงพระราชวินิจฉัยเสร็จแล้วก็ทรงปรึกษากับท่านจักร
หลังจากเสวยพระกระยาหารค่ำในวันที่ 31 ธันวาคม 2494 ทั้งสองพระองค์ก็ทรงดนตรีร่วมกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำนองเพลงด้วยแซ็กโซโฟน ให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ใส่คำร้องทีละประโยค

ทรงถ้อยทีถ้อยอาศัยกันคนละท่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเป็นเมโลดี้ แล้วทรงให้ท่านจักรเขียนเนื้อเพลง

ประมาณเกือบครึ่งชั่วโมงเท่านั้น เพลงนี้ก็เสร็จเป็นรูปเป็นร่าง

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งว่า สุนทราภรณ์ตอนนี้เล่นอยู่ที่ไหน ท่านจักรว่าเล่นอยู่ที่ศาลาเฉลิมไทย

จึงทรงให้ทำนองเพลงนี้ไปให้วงสุนทราภรณ์ที่ศาลาเฉลิมไทย อีกที่ในเวลาเดียวกันนั้น ได้พระราชทานไปที่วงซียูแบนด์ ของจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย ตอนนั้นกำลังจัดงานปีใหม่ตรงริมสระน้ำด้านหน้าของมหาวิทยาลัย ในเวลาไล่เลี่ยกันก่อนถึงสองยาม

คุณ 'ใหญ่ นภายน' เล่าว่า ดึกของคืนวันนั้นหลังจากเรียบเรียงเสียงประสานและคณะนักร้องในวงจัดแจง 'ต่อเพลง' เป็นที่เรียบร้อย

ครูแก้ว (แก้วฟ้า อัจฉริยกุล) ซึ่งเป็นโฆษกของวงสุนทราภรณ์ พอใกล้เวลาจะสองยามก็ประกาศมีใจความว่า

"ตอนนี้มีข่าวดีสำหรับพี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทาน 'พรปีใหม่' เพื่อพี่น้องชาวไทยเราทุกคน

พูดจบก็สองยามพอดี วงดนตรีก็เริ่ม...ป่าม ปาม ป๊าม ป๊าม ปาม ป่าม ป๊าม

จนกระทั่งจบเพลง โอ้โห...เสียงไชโยโห่ร่ำไปหมดทั้งศาลาเฉลิมไทย เป็นครั้งแรกที่เพลงพระราชนิพนธ์ 'พรปีใหม่' ได้รับการบรรเลงสู่สาธารณชน"

รุ่งขึ้น 'กรมโฆษณาการ' รีบเร่งดำเนินการบันทึกเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ 'พรปีใหม่' และกระจายเสียงกันเดี๋ยวนั้น เพื่อถ่ายทอด

น้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงตั้งพระทัยที่จะทรงอวยพรปีใหม่แก่พสกนิกรของพระองค์ ในวันขึ้นปีใหม่

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2495 หลังจากเสด็จนิวัตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ.2493
และเป็นบทเพลงที่นิยมบรรเลงในโอกาสปีใหม่เรื่อยมาทุกปีจวบจนปัจจุบัน


......................................................


ขณะที่ เเบ่งวรรค จัดย่อหน้า อ่านไปด้วย ผมน้ำตาคลอต เเละ ยิ้มเเบบปากค้าง

ผมตื้นตันในพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยะภาพ ความมีโชคดี ความอบอุ่นของปวงประชาชนสมัยนั้นRolleyes

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอจงทรงพระเจริญ เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยสืบต่อไป.

ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้่าปกกระหม่อม. หัทยา สงวนสิน


เเละ ขอกล่าวคำ สวัสดีปีใหม่ไทย เเด่ทุกท่านด้วยครับ


RE: เพลงพรปีใหม่ น้ำพระราชหฤทัย เเด่....ปวงประชา - karn - 10-04-2009

สวัสดีปีใหม่ครับน้าๆBig Grin