วันทรงดนตรี - Printable Version +- NimitGuitar webboard (http://www.NimitGuitar.com/mybb) +-- Forum: All solid webboard (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=1) +--- Forum: พูดคุยสนทนาทั่วไป (http://www.NimitGuitar.com/mybb/forumdisplay.php?fid=2) +--- Thread: วันทรงดนตรี (/showthread.php?tid=713) |
วันทรงดนตรี - SARUN - 05-12-2007 คงจะไม่ผิดหากจะกล่าวว่าวันทรงดนตรีถือกำเนิดมากจากพระมหากรุณาธิคุณพิเศษ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะในวันพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมจุฬาฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พุทธศักราช 2500 หลังพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ได้รับสั่งขอโทษที่เสด็จพระราชดำเนินกลับโดยไม่ได้เสวยพระสุธารสอย่างที่เคยทรงปฏิบัติมา เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ เมื่อนิสิตขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติขอเข้าเฝ้าถวายพระพรแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ซึ่งประสูติกาลในวันพระราชทานปริญญาบัตรว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ จึงเป็นที่ชื่นชมโสมนัสแก่คณาจารย์และนิสิตเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นิสิตเข้าเฝ้าที่บริเวณสถานลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 6 กันยายน พุทธศักราช 2500 นิสิตจึงปลาบปลื้มอย่างยิ่ง ทุกคนยิ่งปลาบปลื้มปิติมากยิ่งขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า " ในโอกาสที่ท่านมาชุมชนกันนี้ พอดีเป็นวันที่มีวงดนตรีของสถานีวิทยุ อ.ส. ซึ่งออกรายการเป็นประจำทุกวันศุกร์จึงขอชวนให้อยู่ฟังด้วย ดนตรีวงนี้เล่นอย่างกันเอง เลอะๆ เทอะๆ บางทีจวนจะจบก็เล่นต่อไป บางทียังไม่จบก็รีบจบ บางทีมีคนขอเพลงมาไม่เคยได้ยินก็เปิดแผ่นเสียงให้ฟัง ก็เล่นกันไปได้ เล่นอย่างกันเองอย่างที่นายแมนรัตน์ หัวหน้าวงเขาพูดบ่อยๆ ว่าเป็นกันเองกับผู้ฟังดี วันนี้ขอให้นิสิตเป็นกันเอง " [จาก; หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ] สมาชิกบ้านเราก็มีหลายๆท่านมาจากรั้วจามจุรี มีใครทันเหตุการณ์ ครั้งนี้บ้างครับ RE: วันทรงดนตรี - SARUN - 05-12-2007 บรรยากาศที่เป็นกันเองในวันนั้นเป็นสิ่งที่ประทับใจ นิสิตต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ นับเป็นบทเริ่มต้นของประเพณีจัดงานวันทรงดนตรีส่วนพระองค์ งานวันทรงดนตรีส่วนพระองค์เริ่มบทที่ 1 เมื่อสถานีวิทยุ อ.ส. เชิญให้สมาชิกชมรมดนตรีสากล ส.จ.ม. ไปบรรเลงออกอากาศ ที่สถานีวิทยุ อ.ส. ในบ่ายวันศุกร์ประมาณ 2 เดือนครั้ง วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามอาจารย์สันทัด ตัณทนันท์ หัวหน้าวงดนตรีสากล ส.จ.ม. ว่าทรงมีพระราชประสงค์ที่จะนำวงลายครามของพระองค์ท่านมาบรรเลงที่จุฬาฯ พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมนี้ ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกหมูเหล่ารับใส่เกล้าใส่กระหม่อมด้วยความปลาบปลื้มอย่างที่สุด จากนั้นงานวันทรงดนตรีส่วนพระองค์จึงมีต่อมาจนถึง พุทธศักราช 2516 เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายและสถานการณ์ไม่เอื้อต่อการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีแล้ว คณาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบันในอดีต ได้จัดงานรำลึกถึงวันทรงดนตรีอยู่ 2-3 ครั้ง แต่ปรากฏว่ามีผู้สนใจน้อย อาจเป็นด้วยจัดงานในวันที่ 20 กันยายน เป็นระยะเวลาที่นิสิตกำลังสอบประจำภาคต้น จากนั้นจึงไม่ได้จัดงานวันทรงดนตรีอีก ด้วยเหตุนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีต่อมาจนถึงปัจจุบัน RE: วันทรงดนตรี - SARUN - 05-12-2007 ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นนนทรี และพระราชทานต้นนนทรีให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จํานวน 9 ต้น ณ บริเวณด้านหน้าอาคารหอประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามคํากราบบังคมทูลเชิญของสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในสมัยนั้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นนนทรีเรียบร้อยแล้ว ทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จฯ สู่หอประชุม เพื่อทรงดนตรีร่วมกับ วง อ.ส.วันศุกร์โดยมีอาจารย์และศิษย์เก่าของ มก. รวมอยู่ด้วย ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ อีกเหตุการณ์หนึ่ง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เกิดขึ้นและหลังจากนั้นในปีต่อๆ มาทรงเสด็จฯ ?เยี่ยมต้นนนทรี? ที่ทรงปลูก และ ?ทรงดนตรี? รวมแล้ว 10 ครั้ง ในครั้งที่ 4 พ.ศ. 2509 ตรงกับนิสิต เคยู รุ่นที่ 26 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อาจารย์และนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กว่า 3,000 คน เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานเลี้ยงอาหารเย็น และทรงดนตรี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์แก่ มก. ซึ่งมีเพียงทํานอง เรียกว่า K.U.SONG ไปก่อน ส่วนเนื้อร้องทรงมีพระราชดํารัสว่า ?เพลงนี้ยังไม่มีคําร้อง แต่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดูเหมือนมีผู้เชี่ยวชาญในการเขียนคําร้อง ต้องเริ่มพิจารณา เพราะ พวกนิสิตอยากได้ จะได้ไม่น้อยหน้าเขา แล้วก็จะได้แสดงว่าของเราก็มีเหมือนกัน? ซึ่งมก. ได้มอบหมายให้ ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร แต่งคําร้อง จนเสร็จสิ้นเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ "เกษตรศาสตร์" RE: วันทรงดนตรี - Teera - 05-12-2007 เยี่ยมครับ น้าซา RE: วันทรงดนตรี - SARUN - 05-12-2007 เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรรเลงครั้งแรกในวันทรงดนตรี กับวงดนตรีสากลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Band) เมื่อ 17 ธันวาคม 2509 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (พระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้อง เริ่มต้นว่า ?เขียวธงขจี ก่อเกิดสามัคคีมั่น สถานเรียนเกษตรนั้น เราผูกพันบูชา???? ) ซึ่งจัดว่าเป็น 1 ใน 3 สถาบันการศึกษา ที่พระองค์ได้พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ ให้เป็นเพลงประจำสถาบัน โดยอีก 2 เพลง ได้แ่ก่ เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ พระราชทานให้เป็นเพลงประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2492 (โปรดเกล้าฯประทานเพลงประจำมหาวิทยาลัยเพลงแรกคือ ?มหาจุฬาลงกรณ์? ที่ขึ้นต้นว่า ?น้ำใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา ??..? เพลงนี้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุลฯและนายสุภร ผลชีวิน ประพันธ์คำร้อง และ เพลงพระราชนิพนธ์ ?ยูงทอง? เพลงนี้โปรดเกล้าฯประทานให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2506 โดยทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง นายจำนงราชกิจ(จรัล บุณยรัตพันธุ์) ประพันธ์คำร้อง ?แหล่งศึกษาร่มเย็นเด่นริมสายชล เราทุกคนรักดุจหัวใจ ปลูกยูงทองไว้เคียงโดม มุ่งประโลมโน้มใจรัก ????? ) RE: วันทรงดนตรี - karn - 05-12-2007 ขอบคุณครับน้าซ่าส์ |