คำขวัญของเมืองไทยคือ "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" นั้นเป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์แต่จะไม่ใช่เรื่องจริงในอนาคตถ้าเราไม่บริหารจัดการแหล่งน้ำให้ดีกว่านี้ครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับคนส่วนใหญ่ ผมจะขอสรุปสั้นๆด้วยรูปเพียงสองรูปแล้วกันครับ
จากรูปแรกซึ่งเป็นข้อมูลของ FAO ประเทศไทยนั้นแห้งแล้ง (สีแสด) มากเมื่อดูจากปริมาณแหล่งน้ำจือต่อหัวประชากรแต่ก็ยังแห้งแล้งน้อยกว่าจีนและอินเดีย ดังนั้นในอนาคตถ้าขาดน้ำเราก็คงไม่มีปลาไม่มีข้าวกินหรอกครับ
รูปที่สองเป็นการคาดการของ FAO ว่าผลผลิตชีวมวลต่อหัวประชากรจะลดลงมากแค่ไหนในปี 2030 ปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงก็เนื่องมาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปีดังนั้นประเทศในเขตุร้อนจะแห้งแล้งขึ้นในขณะที่ประเทศในเขตหนาวจะมีฤดูเพาะปลูกยาวขึ้น
อีกปัจจัยที่สำคัญคือประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพราะอากาศยิ่งร้อนน้ำก็ยิ่งระเหยเร็วขึ้น ถ้าดูจากรูปจะเห็นใด้ว่าเมืองไทยจะมีผลผลิตทางการเกษตรลดลง 35-45% ในอีก 18 ปี ผมว่าข้อมูลนี้น่าจะผิดเพราะ FAO เขาใช้ข้อมูลจากปี 1961-1990 เป็นข้อมูลอ้างอิงซึ่งในช่วงนั้นเมืองไทยใด้มีการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำอย่างมากมาย
หลังจากปี 1990 นั้นเราไม่สามารถสร้างแหล่งเก็บน้ำใด้อีกเพราะโดนต่อต้านจากกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ พอเจอภาวะโลกร้อนที่มวลน้ำระเหยมากขึ้นและตกลงมาเป็นฝนเราก็ต้องเจอกับสภาวะน้ำท่วมในหน้าฝนและสภาวะแล้งในหน้าหนาวรุนแรงขึ้นทุกปีครับ
เรื่องวิกฤติน้ำนี่คงต้องพึ่งวิศวกรชลประทานอย่างน้านริศเป็นคนแก้ไขและเผยแพร่ข้อมูลให้คนไทยใด้รับทราบความจริงครับ เรื่องน้ำท่วมน้ำแล้งนี่ถ้าเราไม่ไปจัดการที่ต้นเหตุจะเสียเงินอีกกี่แสนล้านก็คงแก้ไม่ใด้หรอกครับ