เอาเท่าที่พอจะรู้มาบ้างเท่า "เสี้ยวกระพี้" นะครับ
จังหวะในดนตรีอินเดีย ที่จะคุ้นหูคนไทยเลยก็คือ จังหวะ " ต้ม-หมู"
((แต่ถ้าเอาไปพูดแบบนี้ คนอินเดียคง งง พอสมควร))
จังหวะในเพลงแต่ละชาติพันธุ์ มักจะมีหลายหลายอยู่พอสมควร
และวิธีการถ่ายทอดต่อๆกันมา ก็มักใช้วิธีท่องเป็นคำๆ เลียนเสียงจากกลอง
อย่างกลองสากล ก็จะท่องกันเป็น โป๊ะ ถึก แช่ ...
แล้วก็เรียกกันไปเป็นจังหวะที่เราคุ้นๆ เช่น ร๊อก สามช่า สวิง เป็นต้น
อย่างเพลงไทยเดิม ก็มี ติง ต๊ะ ป๊ะ โจ๊ะ โท่น ทิง ทั่ม เท่ง ทึง เป็นต้น
ส่วนจังหวะ ก็จะเรียกทับศัพท์ว่า "หน้าทับ"
เช่น หน้าทับลาว ก็จะท่องเป็นกลอนว่า ติง โจ๊ะ ติง ติง...ติง ทั่ม ติง ทั่ม
อย่างพวกเพลงอินเดีย เสียงกลองที่เราได้ยินจังหวะ " ต้ม-หมู" เรียกว่า Tabla จะท่องเป็น ทา ที ทิน ดา ดี ดิน นา
ส่วนมากที่เห็นๆ ก็น่าจะเป็น จังหวะ 4/4 เหมือนสากลนี่แหละ แต่มีหลายกลอน และลูกขัด จังหวะยก เยอะมาก
ลองดูในyoutube ที่นายVenkat สาธิตการฝึกตี Tabla ไว้ 11 บท
เขาสาธิตอย่างช้าๆ น่าจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้
http://www.youtube.com/user/vtallapragada
เพิ่มเติมความเห็นอีกนิดนึง
โดยธรรมชาติของเพลงอินเดีย ผมว่ามันมีโน๊ตเยอะกว่าโน๊ตสากลนะ
ปกติ โน๊ตสากล จะมีอยู่ 12 tone ใน1 Octave (รวม # และ b ) ลองดูบนคอกีต้าร์ก็ได้ ตั้งแต่ เฟรท1-12 หรือเรียกว่า Semitone
แต่ธรรมชาติเพลง อินเดีย น่าจะอยู่ในจำพวก Quarter tone คือ มีโน๊ตอีกแทรกอยู่ระหว่าง 12 tone ของ Semitone นั่นอีก
ถ้าจะเล่นให้ได้สำเนียงเพลงอินเดีย ในบางเครื่องดนตรีอาจจะทำได้ไม่ยาก อย่างเช่น ไวโอลิน แต่ถ้าเป็นเปียโน อาจเป็นไปได้ยากมาก แต่ถ้าเป็นกีต้าร์อาจจะลำบากซักหน่อย จำต้องมีเทคนิคพิเศษช่วย นั่นคือ เทคนิคการดันสายเล็กน้อย หรือไม่ก็ใช้ Slide เพื่อให้ได้ โน๊ต # # หรือ b b คงจะช่วยให้ได้ระดับเสียงที่ละม้ายบ้าง