ก่อนจะคุยเรื่องไม้ laminate ก็ต้องพูดถึงไม้ solid ที่เอามาทำกีต้าร์กันก่อนครับ การเลื่อยไม้ให้ใด้ความแข็งแรงมากสุดและ sustain ยาวสุดนั้นเขาไม่ใด้เลื่อยแบบไม้กระดาน (plain sawn) นะครับแต่เขาต้องเลื่อยตั้งฉากกับเกรนหรือที่เรียกกันว่า quartersawn ซึ่งสิ้นเปลืองไม้มากกว่าเยอะครับ
คราวนี้มาดูไม้ laminate กันบ้าง การเลื่อยไม้ลายสวยๆเพื่อเอามาปะหน้าไม้อื่นนั้นเขาจะเลื่อยแบบปอกเปลือกครับเพื่อให้ใด้ไม้มากที่สุด ตามปกติแล้วโรงเลื่อยทั่วไปเขาจะเลื่อยแบบ rotary peel หรือ flat peel แล้วแต่ลายที่ต้องการ
ตามปกติเมื่อใด้ veneer แผ่นบางเท่ากระดาษมาแล้วเขาก็เอามาปะหน้าปะหลังไม้ราคาถูก ถ้าเป็นกีต้าร์ที่ทำในเอเชียก็มักใช้ไม้พวก nato หรือ bass wood เป็นไส้กลางแต่ถ้าเป็นพวกกีต้าร์หลังกระทรวงนี้เขาใช้ไม้อัดเป็นไส้ก็ยังมีครับ
THE MARTIN STORY
.ในปี 1990 บริษัท Martin เริ่มตระหนักว่าการเอาไม้ solid wood ล้วนๆมาทำกีต้าร์นั้นในอนาคตจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ Martin จึงใด้ค้นคว้าหาทางเอาไม้ laminate มาทำไม้ด้านข้างเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความแข็งแรงโดยไม่มีผลต่อเสียงและก็ผลิตรุ่น D-1 ออกมาในปี 1992
D-1 ใช้ไม้หลังและไม้ข้างเป็น mahogany ที่ไม่มีเกรนมากนักเลยใช้ไม้ laminate และ solid ผสมกันใด้ ต่อมาเมื่อ Martin ต้องการออกรุ่นที่หรูกว่าคือ D-1R ที่ไม้หลังเป็น rosewood ก็เจอปัญหาใหญ่คือไม้ข้างที่เป็น plain sliced และไม้หลังที่เป็น quartersawn นั้นลายมันต่างกันมากมาย (ดูรูปด้านบน) Martin ก็เลยต้องใช้ไม้หลังเป็น laminate เพื่อให้ match กับไม้ข้างครับ
Martin เลยสรุปว่าการใช้ไม้ข้างเป็น laminate และไม้หลังเป็น solid นั้นทำไม่ใด้กับ tonewood ที่มีลายอย่างเช่น rosewood หรือ maple เมื่ออเมริกันทำไม่ใด้แล้วทำไมญี่ปุ่นทำใด้ผมจะเฉลยในตอนต่อไปครับ