(29-06-2011, 16:10)karn Wrote: สวยมากๆครับ....เอาอีกๆๆๆ
5555 เดาว่าน้ากานต์ไม่ได้มาดูรูปวิวแน่ๆ เดี๋ยวน้องจัดหนักให้นะจ้ะ
(29-06-2011, 09:32)Maow Wrote: ผมขอแสดงความคิดเห็นรูป # 9: The Silhouette Sweet Wedding ครับ
เป็นรูปที่ถ่ายโดยการวัดแสงที่ฉากหลังแล้ว ยังทำให้เห็นรายละเอียดของวัตถุ ซึ่งทำให้ได้อารมณ์ของภาพดีครับ ชอบมากเลยรูปนี้ อยากให้บอกถึง mode ของการวัดแสงด้วยครับว่าเป็นเฉลี่ยแบบไหน เพราะมีความสำคัญมากกับการวัดแสงครับ
คนถ่ายคนเดียวกันใช้โหมดในการวัดแสงแตกต่างกันก็ให้ได้ภาพต่างกัน ผมว่าเรื่องการวัดแสง การเข้าใจการทำงานของกล้องที่วัดแสงในแบบต่างๆ มีความสำคัญต่อการถ่ายภาพมากเลย เนื่องจากการถ่ายภาพแม้แต่การใช้ f-number, ความไว shutter เดียวกัน WB เหมือนกัน แต่ต่างกันตรง mode การวัดแสงก็อาจทำให้ได้ภาพที่ต่างกันและอารมณ์ภาพก็จะต่างกันมากเลย ผมว่าน้องหมูมีความเข้าใจในส่วนนี้แน่นอนเลยทำให้การถ่ายภาพได้อารมณ์ โดยมีความชัดลึก/ตื้น ได้ดีทีเดียว
ขนาดกล้องของผมก็รุ่นเดียวกันกับของน้องหมู เลนส์ก็เทพพอๆกัน แต่ยังถ่ายได้ไม่เท่านี้เลย นอกจากนั้นมุมกล้องหรือความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายวัตถุ ก็สำคัญไม่น้อย เช่น ถ่ายคนเหมือนกัน แต่ทำไมบางคนถ่ายสวย บางคนถ่ายก็ทื่อๆ เห็นก็ชัดดีแต่ไม่ได้อารมณ์ของภาพ ผมว่ามันเป็นศิลปศาสตร์หนึ่งที่น่าศึกษาทีเดียว
รูปที่ 9 เสียอย่างเดียวปากของนาย/นาง แบบ ไม่น่าทำเป็นแบบ จูจุ๊บเลย มันยื่นๆ ยังงัยก็ไม่รู้ ถ้าเป็นประกบเนี่ย.... วันหลังน้องหมูจัดให้ใหม่นะ
ขอบคุณครับพี่หม่าว ขออนุญาตสรุปเห็นข้อๆดังนี้ครับ
1.การใช้โหมดวัดแสงนั้น แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการใช้ แต่ละโหมดมีหลักการเหมือนๆกันครับ ขอแยกเป็นย่อยลงไปตามนี้
1.1 เฉลี่ยทั้งภาพ: เป็นโหมดวัดแสงที่เราลองนึกเอาง่ายๆนะครับ หากเรามองผ่านช่องมองภาพ กล้องจะวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพที่เราเห็น ณ ขณะนั้น เหมาะกับสภาพแสงที่มีวัตถุและแสงที่หลากหลาย เช่น วิวทิวทัศน์ เป็นต้น
1.2 เฉลี่ยหนักกลาง: ตามชื่อเลยครับ กล้องจะให้ความสำคัญไปยังกลางภาพดังที่จะสามารถสังเกตุได้จากกลมๆตรงกลางช่องมองภาพ เหมาะสำหรับถ่ายภาพบุคคลกับวิวซึ่งจะให้ความสำคัญไปที่กึ่งกลางภาพเป็นหลัก ลองนึกดูว่าถ้าเราถ่ายสาวแล้วมีฉากหลังเป็นท้องฟ้า มันก็จะวัดแสงไปที่ใบหน้าและอีกส่วนก็จะเฉลี่ยไปที่ท้องฟ้าครับ
1.3 เฉพาะจุด: จะเป็นขนาดที่เล็กที่สุดที่จุดตรงกลางช่องมองภาพ เหมาะสำหรับใช้วัดแสงกับวัตถุที่มีความเปรียบต่างของค่าแสงมากๆ เช่น ต้องการถ่ายภาพบุคคลยืนริมหน้าต่าง หากเราใช้โหมดวัดแสงเฉพาะจุดวัดไปที่แก้มแล้วล๊อคค่าแสงไว้ หรือใช้โหมดManualก็จะทำให้ถ่ายออกมาได้พอดีครับ
สำหรับภาพSilhouetteผมใช้โหมดวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ แต่ผมหันกล้องไปที่ฉากหลังก่อน โดยไม่สนใจSubjectคือคน แล้วได้ค่าเท่าไหร่ให้จดจำไว้ และค่อยมาวัดแสงที่คนอีกครั้งเพื่อดูว่าค่าที่ได้แตกต่างกันมากขนาดไหน หากต้องการให้คนมีรายละเอียดก็ลองหาค่าเฉลี่ยดู หากถ่ายบ่อยๆมีประสบการณ์แล้ว โดยปกติมักจะวัดแสงฉากหลังให้พอดีแล้วชดเชยแสงมาทางบวกเพิ่มอีกเล็กน้อยครับ
2.WB (White Balance): ถ้าถ่ายเป็นJpegsก็ใช้โหมดWB Sunset หรือจะ Custom WB โดยใช้ค่า Kelvinก็ได้ครับ หากถ่ายเป็น RAW File ก็สามารถใช้ Auto WB แล้วค่อยมาปรับในคอมก็ได้ครับ
3. F-Stop: ค่ารูรับแสง คิดง่ายๆก็ที่รู้ๆกันคือ ยิ่งเปิดค่าน้อย = รูรับแสงกว้าง = รับแสงมาก = ชัดตื้น
ต้องการให้รูปฉากหลังละลายเยอะก็เปิดFกว้างๆครับ แต่ก็ต้องระวังภาพที่ฟุ้งกระจายเกินไปหากมีแสงมารบกวน
Fกว้างๆเหมาะกับใช้ถ่ายตอนแสงน้อยครับ ซึ่งจะได้Speed Shutterมากขึ้นเพื่อให้เราสามารถถือถ่ายได้โดยไม่สั่นไหว
4.Speed Shutter: ค่าความไวชัตเตอร์ นึกเอาง่ายๆครับ ที่เราได้ยินเสียง แชะๆๆๆๆๆ กับแชดดดดดด
นั่นล่ะครับ Sมากๆ = ความไวชัตเตอร์สูง = จับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวได้เร็ว = รับแสงได้น้อยลง
เดี๋ยวมาต่อนะครับ.......