เคยสงสัยบ้างไหมครับว่าทำไมเครื่องดนตรีโบราณอย่าง violin ที่มีอายุสองสามร้อยปีถึงใด้มีมูลค่าหลายสิบล้านบาทแต่กีต้าร์โปร่งอายุเกินร้อยปีนั้นยกให้ฟรีๆก็ยังแทบไม่มีใครเอา ที่เป็นอย่างนี้เพราะกีต้าร์มันตองรับ bending moment ตลอดเวลาครับ ยิ่งอายุมากก็เกิดอาการกาวเสื่อม ไม้ล้าทุกตัว เขาถึงใด้พูดกันว่ากีต้าร์โปร่งนั้นคือ
"An implosion waiting to happen" ไงครับ
ความจริงแล้วคำว่า "คอยก" นั้นมันไม่ถูกต้องหรอกครับแต่เราพูดกันจนชินปากไปแล้ว อาการที่เกิดขึ้นกับกีต้าร์โปร่งทุกตัวคือ "องศาคอลดลง" ตามอายุการใช้งานครับ ที่องศาคอมันลดก็เพราะ body ที่มันยือหยุ่นใด้ (neck joint มันไม่ยืดหยุ่น) มันยุบตัวและพองตัวตามอายุอย่างในรูปข้างล่างครับ
คอกีต้าร์นั้นมันล้าและงอใด้ตามอายุซึ่งเราก็สามารถแก้ใด้ง่ายโดยการปรับ truss rod ถ้าปรับใด้ (ถ้าเป็นกีต้าร์คลาสสิคหรือ Martin ก่อนปี 1985 ก็ปรับไม่ใด้ครับ) แต่องศาของคอที่ทำกับ neck block นั้นมันเปลี่ยนไม่ใด้หรอกครับ ส่วนที่เปลี่ยนคือไม้หน้าส่วนใต้ fingerboard มันยุบตัวและส่วนใต้ bridge มันพองตัวครับ ถ้ามันยุบและพองเท่าๆกันทั้งสองด้านก็ยังพอทนแต่ถ้าเกิดไม่เท่ากันจนคอเอียงนี่ก็ต้องถอดคอมา reset แน่นอนครับ
การเก็บรักษากีต้าร์ที่เหมาะสมที่สุดคือการรักษาระดับความชื้นให้คงที่ที่สุดครับ ส่วนเรื่องผ่อนสายนั้นผมไม่เคยผ่อนครับแต่ใครอยากผ่อนก็ไม่น่ามีผลเสียอะไร
วิธีแก้คอยก
วิธีของฝรั่งนั้นผมจะไม่พูดถึงนะครับเพราะหาอ่านใด้ทั่วไป เรามาดูวิธีของไทยกันดีกว่าเพราะคนทั่วไปไม่ค่อยรู้หรอกครับ
กีต้าร์เก่าๆรุ่น '60s, '70s ของญี่ปุ่นอย่างพวก Yamaha FG หรือ Morris นั้นไม่สามารถถอดคอใด้เพราะพี่ยุ่นแกใชกาว epoxy ติดตายมาเลย กีต้าร์ราคาถูกพวกนี้พอคอยกแล้วที่ญี่ปุ่นเขาก็โยนทิ้ง ส่วนคนไทยหัวไสก็เลยขนมาขายที่เมืองไทย
การแก้คอยกแบบไทยๆมีดังต่อไปนี้ครับ
1. ถ่วงหัวกีต้าร์ วิธีนี้ง่ายสุดแต่อยู่ใด้ไม่นานครับ
2. ปาดบริดจ์ วิธีนี้ใช้ใด้กับบางยี่ห้อที่ bridge หนาครับ
3. เซาะลิ่มคอ กีต้ารืญี่ปุ่นยุคนั้นใช้คอสองชิ้นอยู่แล้วเพื่อประหยัดต้นทุนโดยมีอีกชิ้นมาต่อตรงส่วนใต้คอ ช่างบางคนเขาะเลยตัดตรงรอยต่อให้เป็นลิ่มแล้วกดคอลง วิธีนี้น่าจะอยู่ใด้นานกว่าวิธีแรกครับแต่ต้องทำสีคอใหม่
4. ปาด fingerboard วิธีนี้เขาใช้กับกีต้าร์คออีนงโดยการปาด fingerboard ให้ขนานกับ top ทำ radius ใหม่และใส่เฟ็ตใหม่
เท่าที่ผมทราบก็มีแค่สี่วิธีครับ