Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
น้าแอ๊นท์ ใน ไทยรัฐ
Author Message
karn Offline
you may say I'm a dreamer
******

Posts: 3,884
Likes Given: 81
Likes Received: 97 in 64 posts
Joined: 28 Aug 2007
Reputation: 39
#1
น้าแอ๊นท์ ใน ไทยรัฐ
บริหารย้ำแบบไทย เพิ่มช่องเหลื่อมล้ำ

[Image: xz071.jpg]

จิตอาสาสร้างรอยยิ้ม...ผ่อนคลายความเครียด โดยใช้้้เสียงเพลงที่ส่งผ่านความสุขมาจากกีตาร์คู่ใจ ของ พีรพงศ์ เฉลิมโยธิน

พีรพงศ์ เจ้าของท่วงทำนองแห่งความสุข มีชื่อในวงการว่า แอ๊น อีโมชั่น-ทาวน์ เจ้าของเพลงฮิต ?เหตุเกิดจากความเหงา? เล่าให้ทีมข่าวสกู๊ป หน้า 1 ฟังว่า เขากับเพื่อนๆตระเวนขึ้นเวทีช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเวทีใหญ่ร่วมกับศิลปินชื่อดัง หรือเวทีขนาดย่อมใน ศูนย์การค้า กระทั่งเปิดหมวกริมถนน

ไม่ว่าเวทีเล็กใหญ่หรือข้างถนน พวกเรามีจุดหมายไม่ต่างกันคือ...อยากช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อน

แอ๊น อีโมชั่นทาวน์ บอกว่า เมื่อพวกเขาไม่สามารถช่วยเป็นเงินได้ทั่วถึง ก็ใช้เสียงเพลงทดแทน เรียกว่าได้ความสุขทั้งคนร้อง...คนฟัง เพราะเราได้ทำในสิ่งที่เรารักและถนัดอยู่แล้ว

ความมุ่งหมายสำคัญนี้ ต้องยอมรับว่า มาจากครอบครัวที่ปลูกฝังในเรื่องการแบ่งปันมาตั้งแต่เล็ก แม่กับน้าก็มักจะให้ทำบุญ รักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ

[Image: lten2.jpg]
พีรพงศ์


?ช่วงที่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติ จะคอยอัพเดตข่าวกับเพื่อนๆในวงการ ว่าวันไหนมีงานอะไรที่ไหนบ้าง ก็จะชวนๆกันไป ขาประจำก็มีหมู มูซู, พี่โอ้ เสกสรร, พี่ชัด ชัยรัตน์, ปราโมทย์ วิเลปะนะ และศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ ก็...แล้วแต่ใครจะสะดวก ยิ่งตอนนี้ร้านที่เล่นอยู่ ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ น้ำท่วมเกือบทุกที่ โดนยกเลิกงานเกือบทั้งหมด มีเวลาว่างก็เอาไปช่วยเหลือคนอื่นดีกว่า?

ต้องบอกก่อนว่า...พวกเราไม่ได้ช่วยเฉพาะเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เท่านั้น เมื่อตอนต้นปีที่ญี่ปุ่นโดนสึนามิถล่ม หรือเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ กลุ่มเพื่อนๆ ก็จัดคอนเสิร์ต ?แล้วแต่ศรัทธา? ที่ลานข้างห้างมาบุญครอง มีศิลปินทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่มาช่วยกันร้องเพลงคับคั่ง ได้เงินบริจาคมาเป็นจำนวนมาก

ที่เพิ่งผ่านมา...ก็ยกทีมกันไปแสดงมินิคอนเสิร์ต ที่ร้านวอร์มอัพ เชียงใหม่ มีทั้งคนพื้นที่และคนกรุงเทพฯ ที่หนีน้ำไปอยู่ มาร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยกันมากพอดูทีเดียว

?ที่ประทับใจที่สุด คือไปเล่นดนตรีที่ศูนย์พักพิงกระจายความช่วยเหลือ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับปุ๊ก ปะศิรัตน์ และใหม่ ถนอมศักดิ์ ให้ผู้ประสบภัยฟัง...ที่นี่มีคนอพยพเข้ามาจำนวนมาก

ได้เห็นนิสิตรุ่นน้องเกือบสี่ร้อยชีวิตมาเป็นอาสาสมัครช่วยกันทำสุขาชั่วคราวจากเก้าอี้พลาสติก จัดหาอาหาร ดูแลผู้อพยพแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย คิดว่าเสียงดนตรีของเรากับเพื่อนๆจะช่วยสร้างความบันเทิง กระจายความสุขได้บ้าง ไม่มากก็น้อย?

นี่คือจิ๊กซอว์จิตอาสาชิ้นเล็กๆในมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ และในภาพที่ใหญ่ กว่า อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มองว่า น้ำท่วมนอกจากจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแล้วยังสร้างความขัดข้องใจและความขัดแย้งในหมู่คนไทยด้วยกันหลายประการ

[Image: 218h3.jpg]

ปมขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายบิ๊กแบ็กที่ดอนเมือง...ความขัดแย้งที่ถนนพระราม 2 ...ความขัดแย้งระหว่างอำเภอลำลูกกากับเขตสายไหมและคลองสามวา...ความขัดแย้งที่คลองประปาระหว่างชาวดอนเมืองและชาวปากเกร็ด...ตลอดจนความขัดแย้งจากการเจรจาต่อรองปริมาณการปล่อยน้ำระหว่างชุมชนที่อยู่ในและนอกเขตประตูกั้นน้ำต่างๆ ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพฯ

แม้ว่าส่วนตัวจะไม่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่อยากจะสอบถามท่านผู้รู้ว่า...การดำเนินการที่ถูกที่ควรด้านการป้องกันน้ำท่วม ?ตามหลักนิติธรรม? นั้นต้องทำอย่างไร

ข้อที่หนึ่ง หากเขตปกครอง ก. นำกระสอบทรายมาทำทำนบกั้นน้ำไม่ให้น้ำเข้าเขตปกครองของตน แต่การกระทำดังกล่าวทำให้เขตปกครอง ข. ที่มีพื้นที่ติดกันต้องรับภาระแทนโดยต้องเผชิญกับน้ำท่วมในระดับที่สูงกว่าปกติ การกระทำของเขตปกครอง ก. เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในเขตปกครอง ข. หรือไม่? หากเป็นอย่างนี้ประชาชนในเขตปกครอง ข. จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้บริหารเขตปกครอง ก. ได้ไหม?

ข้อที่สอง หากประชาชนในเขตปกครอง ข. ที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวได้รวมตัวกันไปรื้อกระสอบทรายหรือเปิดประตูกั้นน้ำเพื่อให้น้ำที่ท่วมขังในเขตของตนไหลกลับไปท่วมเขตปกครอง ก. ซึ่งมีระดับน้ำต่ำกว่า เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระปัญหาไปบ้างในลักษณะเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข...จะมีความผิดทางกฎหมายไหม?

ข้อที่สาม หากมีการกั้นทำนบหรือเขื่อนรอบๆชุมชนใดชุมชนหนึ่ง

และเมื่อภายหลังระดับน้ำได้ลดลงจนต่ำกว่าระดับสันเขื่อนแล้วชุมชนดังกล่าวได้สูบน้ำในพื้นที่ของตนออกไปด้านนอกเพื่อให้น้ำไปท่วมพื้นที่ข้างเคียงแทน โดยน้ำนั้นอาจมีความสกปรกจากคราบน้ำมันหรือมีสารเคมีจากโรงงานทำให้พื้นที่ข้างเคียงเสียหาย จะผิดไหม?

[Image: rxkl4.jpg]
อดิศร์

ข้อที่สี่ การที่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ถูกกำหนดไว้เป็นพื้นที่แก้มลิงหรือทางน้ำผ่านเพื่อระบายน้ำออกไปทางทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ และสูบออกไปยังอ่าวไทยในที่สุด แต่ต่อมาพื้นที่ได้มีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์เป็นนิคมอุตสาหกรรม สนามบินนานาชาติ หมู่บ้านจัดสรร หรือสนามกอล์ฟ การใช้ที่ดินผิดประเภทเช่นนี้ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำและนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมขังที่บริเวณรังสิต ปทุมธานี จะเอาผิดกับหน่วยงานใดได้

ข้อที่ห้า หากชาวกรุงเทพฯได้ประโยชน์จากการปิดประตูกั้นน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้ากรุงเทพฯ โดยให้ประชาชนในพื้นที่นนทบุรีหรือปทุมธานีรับภาระน้ำท่วมแทน ต่อมาหากต้องมีการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ที่ถูกน้ำท่วมที่ดอนเมือง นนทบุรี หรือปทุมธานี เงินค่าชดเชยจำนวนเงินนี้ก็ควรมาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานครใช่ไหม เพราะชาวกรุงเทพฯชั้นในเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการปิดประตูกั้นน้ำ แต่ที่พบขณะนี้คือเงินค่าชดเชยทั้งหมดกลับถูกผลักให้เป็นภาระของงบประมาณแผ่นดิน?

คนไม่น้อย...น่าจะสับสนในประเด็นคำถามเหล่านี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับน้ำมากกว่า 20 ฉบับ กฎระเบียบต่างๆเหล่านี้สามารถ นำมาใช้เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมและความขัดแย้งได้บ้างไหม หรือว่าต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมอีก แล้วประเทศไทยต้องมีกฎหมายน้ำอีกกี่ฉบับ...จึงจะพอรับกับปัญหา

ทัศนะส่วนตัว อดิศร์ รู้สึกว่าการเรียกร้องความเป็นธรรมจากภาครัฐคงเป็นสิ่งที่ทำยากมากๆ การปรับเปลี่ยนให้สังคมไทยมีความเท่าเทียมกัน ให้มีการนึกถึงหัวอกเขาหัวอกเราโดย ?คนไทยทุกคนที่เกิดมาบนผืนแผ่นดินนี้มีสิทธิเท่าเทียมกันคงเป็นเรื่องที่ทำยากมาก?

?เราเห็นภาครัฐให้บริการสาธารณูปโภคกับคนในกรุงเทพฯดีกว่าการให้บริการคนในชนบททั้งๆที่คนทั้งสองเป็นคนไทยเหมือนกัน เราเห็นโรงเรียนในกรุงเทพฯมีคุณภาพดีกว่าโรงเรียนในชนบท เราเห็นคนกรุงเทพฯสนุกสนานกับการซื้อหาสินค้าธงฟ้าราคาถูก แต่ในต่างจังหวัดกลับแทบจะหาซื้อสินค้าธงฟ้าไม่ได้เลย?

?เราเห็นรัฐบาลเอาใจใส่เรื่องน้ำท่วมอย่างแข็งขันตอนน้ำจะเข้ากรุงเทพฯ แต่พอกรุงเทพฯพ้นขีดอันตรายรัฐบาลก็ลดละความสนใจทั้งๆที่ยังมีประชาชนในอีกหลายๆจังหวัดที่ยังจมน้ำอยู่?

[Image: 5j645.jpg]

?...เราเห็นรัฐบาลเดินทางไปถึงต่างประเทศเพื่อเจรจากับบริษัทประกันภัยให้เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมได้รับสินไหมค่าชดเชย แต่เราไม่ค่อยเห็นรัฐบาลเหลียวแลคนจนในพื้นที่ห่างไกลที่ถูกน้ำท่วม ถุงยังชีพก็ไม่ได้รับ ข้าวจะกินก็ไม่มี...เราเห็นกรุงเทพฯมีผู้ว่าราชการที่มาจากการเลือกตั้งที่ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาวกรุงเทพฯอย่างเต็มที่ แต่จังหวัดอื่นๆกลับไม่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯของเขาเองเพื่อทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์พวกเขา?

?กรณีการบริหารจัดการน้ำที่เน้นการปกป้องทรัพย์สินบ้านเรือนของคนในเมืองหลวงโดยให้คนในพื้นที่รอบนอกรับภาระแทนจึงเป็นวิธีคิดที่พอจะคาดเดาได้ เพราะนั่นก็คือธาตุแท้ของการบริหารงานแบบไทยๆ?

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ทิ้งท้ายว่า การที่รัฐบาลพูดว่า ?ประชาชนต้องเข้าใจและต้องยอมเสียสละเพื่อส่วนรวม? จึงเป็นประโยคที่เสียดแทงใจ น่าเป็นห่วงเหลือเกินว่า...วัฒนธรรมทางความคิดเช่นนี้ได้นำไปสู่ ปัญหาความขัดแย้งในหลายๆพื้นที่ และจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

และ...?ในที่สุดสิ่งนี้จะทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่ไร้อารยธรรม?.

ที่มา : http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/220461
In my life, I love you more... [Image: 2685i.jpg]




02-12-2011, 17:22
Find Like Post Reply


Messages In This Thread
น้าแอ๊นท์ ใน ไทยรัฐ - by karn - 02-12-2011, 17:22

Forum Jump:


Users browsing this thread: 1 Guest(s)

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication