ซาบซึ้งเลยครับน้าpood
รูปสวย สาระดี มีแง่คิด ใกล้ชิดคุณธรรม
กระทู้น้าpoodนี่สุดเยี่ยมจริงๆครับ
ไม้โรสวูสในไทยมีหลากหลายพันธุ์จริงๆครับแต่บางทีเราก็ไม่รู้ว่าชือไทยๆแบบนี้ก็เป็นโรสวูดด้วย น้าLittlenomad ได้อธิบายใว้ดังนี้ครับ
(04-01-2008, 19:54)LittleNomad Wrote: pood Wrote:Cambodian rosewood มันไม่ใด้ขึ้นอยู่ในเขมรประเทศเดียวหรอกครับ เมืองไทยเราก็มี เวียตนามก็มี
ลาวก็มี เพียงแต่บ้านเราห้ามส่งออกมานานแล้วฝรั่งเลยอดเอาไปทำกีต้าร์
ป่าไม้ในเขมรพอเลิกรบกันเดี๋ยวก็หมดครับ แต่บ้านเราไม่เคยมีสงครามอย่างประเทศเพื่อนบ้านป่าไม้เราเลยหมดก่อนเขาเพื่อน
ไงล่ะ ถ้าเรื่องป่าไม้และไม้นี่ต้องรอน้า Littlenomad มาตอบครับเพราะเคยเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาก่อน
เพิ่งมาถึงบ้าน... ตามย้อนอ่านดูความเคลื่อนไหวของบ้านสีฟ้า เจอน้าpood พาดพิง เลยต้องมาตอบสักหน่อย...
ความจริงผมแค่เคยเร่ร่อนไปเป็นแค่ลูกจ้างรายวันตามอุทยานแห่งชาติบางแห่ง ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ จึงไม่ค่อยมีความรู้อะไรนักเกี่ยวกับป่าไม้หรอกครับ...
แต่ไหน ๆ น้าpood ให้เครดิต เลยพยายามลองค้นข้อมูลพบว่า...
ชื่อ Rosewood สำหรับบ้านเรา มีเรียกซ้ำ ๆ กันอยู่ไม่น้อย อาทิ...
-ไม้ชิงชัน : ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri วงศ์ LEGUMINOSAE
มีชื่ออื่น ๆ ในภาษาไทย เช่น ประดู่ชิงชัน, ดูสะแดน
เป็นไม้เนื้อแข็ง เหนียว มีความทนทานมาก นิยมใช้ทำเครื่องเรือน ส่วนประกอบเกวียน พานท้ายปืน เครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย ซอ จะเข้ ลูกระนาด กลอง โทน รำมะนา กรับ ขาฆ้องวง, พบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้
-ไม้พะยูง : ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Siamese Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ๆ ในภาษาไทย ขะยุง, แดงจีน, ประดู่เสน, กระยง, กระยูง, ประดู่ตม, ประดู่ลาย, พะยูง-ไหม
เนื้อไม้ละเอียด แข็งแรง ทน ขัดและชักเงาได้ดี นิยมใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึง แกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด
พบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
-ไม้ประดู่บ้าน : ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Burmese Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamonum Porrectum วงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น ๆ ในภาษาไทย เทพธาโร, จะไคหอม, จะไคต้น, จวงหอม, พลูต้นขาว, มือแดกะมางิง
เนื้อไม้มีกลิ่นหอมฉุน นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ทำเตียง ทำตู้ หีบใส่เสื้อผ้ากันมอดแมลง และใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกเป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาว ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
พบในป่าดิบบนเขาทั่วประเทศ แต่พบมากในภาคใต้
-ไม้ประดู่บ้าน : ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Burmese Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ๆ ในภาษาไทย ประดู่กิ่งอ่อน, สะโน, อังสนา, ดู่บ้าน, ประดู่ลาย, ประดู่ไทย
เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง และให้สีน้ำตาล สำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำ
พบในป่าดิบภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป
ส่วน Cambodian Rosewood ดูเหมือนจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia Bariensis ซึ่งบางทีก็เรียก Burmese Rosewood, ชาวเขมรเรียก ?นาง นูน? มีถิ่นกำเนิดในละแวก ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม, ว่ากันว่าเป็นหนึ่งในสองไม้ Rosewood ที่ชาวตะวันตกนิยม (อีกหนึ่งนั้นคือ ไม้พะยูง : Siamese Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis) ไม้ทั้งสองจึงมีค่ามีราคาที่สุดในกลุ่ม Rosewood ที่งอกงามอยู่ในย่านอุษาคเนย์.