Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
บทความน่าสนใจ...
Author Message
karn Offline
you may say I'm a dreamer
******

Posts: 3,884
Likes Given: 81
Likes Received: 97 in 64 posts
Joined: 28 Aug 2007
Reputation: 39
#2
RE: บทความน่าสนใจ...
พัฒนาชาติด้วยภาษาและอุตสาหกรรมการแปล (1) [1 เม.ย. 51 - 18:41]

ผู้อ่านท่านที่เคารพครับ ภาษาและการแปลมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมาก แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไชโยของเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาและการแปลเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ที่ก้าวหน้ามาได้ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการให้ความสำคัญกับภาษาและการแปล สินค้าของสิงคโปร์จึงขายได้ในมากมายหลายประเทศทุกทวีป เพราะมีภาษาท้องถิ่นแปลกำกับสินค้าของสิงคโปร์อยู่ทุกประเภท

คำว่า ?ท้องถิ่นภิวัฒน์? หรือ ?localization? ต่อไปจะเป็นคำที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง บริษัทข้ามชาติที่จะขายสินค้าเข้าไปในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง จำต้องตระหนักถึงความสำคัญของผู้บริโภคในท้องถิ่น ซึ่งตรงนี้จะหนีภาษาและการแปลไปไม่พ้น จะแปลยังไงให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในท้องถิ่นนั้นๆ

ปัจจุบันทุกวันนี้ รัฐบาลแต่ละประเทศพยายามส่งเสริมเพื่อให ้สินค้าของตนออกไปอวดโฉมในประเทศต่างๆ พร้อมคำแปลคู่มือการใช้งานที่ถูกต้อง การแปลกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ ผมยกตัวอย่างแค่ SDL ของประเทศไอร์แลนด์เพียงบริษัทเดียว มีรายได้จากการแปลทุกประเภทว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี เป็นเงินไทยมากกว่า 6,600 ล้านบาท จำนวนเงินมากมายมหาศาลขนาดนี้ ผู้อ่านท่านที่เคารพอย่าคิดว่ามีนักแปลประจำบริษัทบานเบอะเยอะแยะนะครับ มีนักแปลอิสระเพียง 2,000 กว่าคนกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งทำงานการแปลจากที่บ้าน บริษัท SDL ไม่ต้องลงทุนในสำนักงาน เพียงแต่มีสายโทรศัพท์ เชื่อมกับอินเตอร์เน็ต นักแปลก็ทำงานหาเงินเข้าประเทศกันได้แล้ว การแปลสมัยนี้ไม่ยุ่งยากเหมือนก่อน เพราะมีโปรแกรมช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น สะดวกขึ้น ถูกต้องแม่นยำและสม่ำเสมอมากขึ้น

ปัจจุบันทุกวันนี้ ถึงแม้การแปลวรรณกรรมยังคงมีอยู่ แต่แนวโน้มของการแปลส่วนใหญ่กลับเน้นไปในเชิงพาณิชย์มากกว่า เช่น แปลฉลาก คู่มือสินค้า การอบรม งานวิจัย ฯลฯ แม้แต่ในวงการแพทย์ทุกวันนี้ ก็ต้องใช้การแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาอื่นเป็นปริมาณมากมายมหาศาล

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของไทยเพียงแห่งเดียวต้องใช้ล่าม และนักแปลประจำโรงพยาบาลไม่ต่ำกว่า 50 คน บัณฑิตไทยที่ไปเรียนในประเทศอรับ เมื่อกลับมาก็มีงานแปลตามโรงพยาบาลรออยู่เป็นจำนวนมาก

ผู้อ่านท่านเคยสังเกตไหมครับ คนจีนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ทำไมสินค้าจีนจึงแพร่ขยายกระจายไปอยู่ทุกตรอกซอกมุมในโลก ความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากงานการแปลที่มีประสิทธิภาพครับ บริษัทแปลน้อยใหญ่ในต่างประเทศจึงมุ่งหน้าไปตั้งสำนักงานสาขาในสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะจีนต้องแปลฉลากสินค้าและคู่มือการใช้ให้เป็นภาษาต่างๆ รวมทั้งภาษาไทยบริษัทแปลต่างชาติ เมื่อได้รับงานจากบริษัทผลิตสินค้าในจีนแล้ว ก็ส่งงานทางอินเตอร์เน็ตไปให้นักแปลในประเทศอื่น แม้แต่ในประเทศไทย นักแปลของเราก็รับงานแปลจากบริษัทแปลข้ามชาติเหล่านี้นี่เอง ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จทางด้านการขายสินค้าอุตสาหกรรมของตน ให้กระจายไปทั่วโลกมานานกว่า 50 ปี ทั้งๆที่คนญี่ปุ่นพูดภาษาอื่นไม่เก่ง แต่ฉลากและคู่มือการใช้สินค้าของญี่ปุ่น กลับถูกแปลเป็นภาษาต่างๆอย่างละเอียด พวกที่ช่วยให้สินค้าญี่ปุ่นขายดีในต่างประเทศก็คือ บริษัทแปลพวกนี้นี่แหละ

ผมเคยเดินทางไปสำรวจตรวจดูสินค้าและราคาสินค้าไทยในหลายประเทศ เคยถ่ายภาพพวกนี้มาอวดพี่น้องประชาชนคนไทยผ่านรายการโทรทัศน์ ผู้อ่านท่านคงเคยดูรายการและได้เห็นบรรจุภัณฑ์ข้าวไทยในเคนยา ไนจีเรีย คูเวต และในอีกหลายประเทศนะครับ ข้าวไทยมักจะเขียนข้างถุงเพียงแค่ Thai rice บอกเพียงแต่ว่า ?ข้าวไทย? และก็เขียนถึงว่ามีกี่กิโลกรัมเท่านั้นเอง แต่ถ้าท่านดูบรรจุภัณฑ์ข้าวของอินเดีย อเมริกัน หรือเวียดนาม พวกนี้จะมีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษและ ภาษาท้องถิ่นอย่างละเอียด บ่งถึงคุณภาพข้าว วิธีการปรุงหุงข้าว ราคา ปริมาณ และน้ำหนัก ถ้าเป็นข้าวอเมริกันจะบอกละเอียดถึงขนาดว่า ข้าวถุงนี้ปลูกมาจากรัฐไหนอย่างไร ฯลฯ

สินค้าโอท็อปของไทยหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลไปไม่ถึงไหน เพราะผู้บริโภคทั่วโลกไม่รู้ว่ามีวิธีใช้สินค้าเหล่านี้อย่างไร ประโยชน์เป็นยังไง ชาวบ้าน ผู้คนชนบทของไทยผลิตเก่ง แต่ขายสินค้าในตลาดโลกไม่ได้ เพราะขาดภาษาและการแปลครับ

พรุ่งนี้ นิติภูมิขอมารับใช้เรื่องความสำคัญของภาษาและการแปลอีกสักวันนะครับ.

นิติภูมิ นวรัตน์

(ที่มา: เปิดฟ้าส่องโลก/นสพ.ไทยรัฐ)
In my life, I love you more... [Image: 2685i.jpg]




01-04-2008, 09:25
Find Like Post Reply


Messages In This Thread
RE: บทความน่าสนใจ... - by karn - 01-04-2008, 09:25

Forum Jump:


Users browsing this thread: 1 Guest(s)

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication