ไปดู กำแพงดิน เอ๊ย...กำแพงเชียงใหม่ นั่งเล่นกีต้าร์ บนกำแพงไปเร๊ย เดะแนวอยู่แว๊วว
ประวัติกำแพงเมืองเชียงใหม่
เมืองเชียงใหม่ เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ มีอายุเกือบ 700 ปี พญามังรายได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1839 ณ ที่ราบเชิงดอยสุเทพ พญามังรายพบทำเลที่ตั้งเมืองนี้เมื่อพระองค์เสด็จจากเวียงกุมกามประพาสเชิงดอยสุเทพ เมื่อพญามังรายพบทำเลที่เหมาะสมแก่การตั้งเมืองแล้วได้เชิญพระสหาย คือ พญาร่วงผู้ครองเมืองสุโขทัย และพญางำเมืองผู้ครองเมืองพะเยา มาเป็นที่ปรึกษาการก่อสร้างเมือง โดยแบ่งไพร่พลออกเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งมีจำนวน 50,000 คน ให้สร้างราชมนเฑียร หอนอนราชวัง คุ้มน้อย โรงช้าง ม้า ภายในเมือง อีกชุดหนึ่งมีจำนวน 40,000 คน ให้ขุดคูเมือง ก่อกำแพงเมืองทั้ง 4 ด้าน ทำเขื่อนประตู หอหิ้ง หอเรือ ก่อสร้างอยู่ 4 เดือนจึงแล้วเสร็จ พระสหายทั้งสองได้อยู่ร่วมกันฉลองเมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ซึ่งได้รับการขนาดนามว่า ?นพบุรีศรีนครพงค์เชียงใหม่?
กำแพงเมืองเชียงใหม่มีประตูเมืองชั้นใน 5 ประตูคือ
1. ประตูเชียงใหม่ อยู่ทางทิศใต้ ประตูนี้เป็นประตูนามเมือง จึงห้ามไม่ให้เอาศพผ่าน ออกประตูนี้ ถือว่าอาถรรพณ์
2. ประตูช้างเผือก อยู่ทางทิศเหนือ ถนนช้างเผือกหรือถนนสายไปอำเภอฝาง ประตูนี้ แต่เดิมเรียกว่าประตูหัวเวียง มาเรียกว่าประตูช้างเผือก ในสมัยจองพระเจ้าแสนเมืองมา
3. ประตูสวนดอก อยู่ทางทิศตะวันตก ที่เรียกว่าประตูสวนดอก เพราะเป็นประตูที่ผ่าน ไปยังสวนดอกไม้ของพระเจ้ากือนา ซึ่งสร้างเป็นพระอารามใน พ.ศ.1914 เพื่อประดิษฐานพระสารีริกธาตุที่พระสุมนเถรนำมาจากกรุงสุโขทัย ตำนานสุวรรณคำแดงว่า เวียงสวนดอกนี้มีมาตั้งแต่ครั้งพวกลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว เวียงสวนดอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยังมีซากแนวกำแพงเมืองอยู่ หากมีแผนที่หรือภาพถ่ายทางอากาศจะมองเห็นได้ชัดเจน
4.ประตูสวนปุง หรือสวนปรุง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ต่อจากประตูเชียงใหม่ ประตูนี้ใช้สำหรับ เอาศพออกไปยังป่าช้าหายยา ประตูนี้มีชื่อเรียกในตำนานหลายชื่อ เช่น ประตูสวนแล ประตูแสนพุงหรือสวนปุง
5. ประตูท่าแพ อยู่ทางทิศตะวันออก เข้าใจว่าเป็นประตูที่ออกไปสู่ท่าน้ำ ซึ่งในสมัยก่อน คงมีแพเทียบไว้ จึงเรียกประตูท่าแพมาตราบทุกวันนี้