pood Wrote:งาช้างแข็งกว่ากระดูกทั่วไปเยอะครับ สมัยก่อนสงครามกีต้าร์ดีฯอย่าง Martin ก็ใช้ nut และ saddle ที่
ทำจากงาช้างทั้งนั้น ต่อมาจึงใด้มีการห้ามใช้เพราะช้างจะหมดป่าเนื่องจากมีคนไปลักลอบฆ่าเพื่อนำงามาขาย
ตอนนี้ที่อเมริกาเขาห้ามซื้อขายสิ่งของที่ทำจากงาช้างโดยเด็ดขาดครับ แต่ในบ้านเรารู้สึกว่าจะห้ามแต่งาไม่รวมถึง
วัสดุที่ทำจากงา
ถ้าหาใด้ตอนนี้ก็คงเป็นของเก่าเท่านั้นครับเพราะคนไทยไม่เคยฆ่าช้างเพื่อเอางามาขาย ช้างไทยเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง
มาหลายร้อยปีแล้วไม่เหมือนช้างอาฟริกาที่เป็นเพียงสัตว์ป่า งาช้างที่ขายกันในบ้านเราก็น่าจะเป็นงาของช้างที่ตายโดยธรรมชาติ
ทั้งนั้นครับ
"ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง" เรามักรับรู้กันในแง่มุมนี้
แต่จริง ๆ แล้ว... มีการ "ค้า-ช้าง" มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อเนื่องมาถึงสมัยอุธยาฯ ครับ...
และลูกค้าสำคัญรายหนึ่ง คือ อินเดีย! -แปลกดีไหมครับ ทว่าเป็นเรื่องที่มีหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์!!!
และในจดหมายเหตุฝรั่งเศส ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ แห่งกรุงศรีอยุธยาฯ ก็มีบันทึกว่า "งาช้าง" เป็นสินค้าส่งออกอย่างหนึ่งของไทย!...
ที่น้า pood ว่า "...งาช้างที่ขายกันในบ้านเราก็น่าจะเป็นงาของช้างที่ตายโดยธรรมชาติ..."
แต่เท่าที่ผมเคยทำสารคดีเรื่อง "ขบวนการล่างาช้าง" ซึ่งติดตามเก็บข้อมูลอยู่เป็นปี และเข้าไปฝังตัวอยู่กับขบวนการระยะหนึ่ง...
ทำให้รู้ว่า งาช้างในท้องตลาดบ้านเรา มีแหล่งที่มาหลัก ๆ สองแหล่ง...
แหล่งแรก -ล่ายิงช้างในป่า เพื่อฆ่าเอางาครับ... เมื่อหลายปีก่อนแหล่งล่าสำคัญคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ต่อมาก็ที่ป่ากุยบุรี...
แหล่งที่สอง -ตามหาช้างพลาย ซึ่งรับเป็นช้างลูกช่วงลากไม้ของ ออป. โดยเฉพาะในป่าภาคเหนือ แล้วขโมยตัดด้วยการใช้เลื่อยลันลาเลื่อยกันสด ๆ เป็น ๆ หากช้างเชือกใดดื้อหรือขัดขืน พวกขโมยก็จะใช้วิธีตั้งแต่ฟาดด้วยตะขอ หรือถ้ายังดื้ออยู่ ก็เล่นเครื่องปั่นไฟฟ้าตัวเล็ก ติดเครื่องแล้วช๊อตจนช้างยอม!!! (ผมยังมีรูปสไลด์ชุดนี้เก็บอยู่) ทำให้เจ้าของช้างพลาย ต้องชิงตัดงาช้างของตนก่อนถูกขโมยลักตัด เพราะถ้าตัดงาอย่างผิดวิธี ช้างตัวนั้นจะเจ็บป่วยจากอาการโพรงประสาทของงา... (เรื่องนี้ถ้าเล่าละเอียด ยาวเหยียดเลยครับ)
สำหรับตลาดงาช้าง ค่อนข้างเป็นตลาดลักลอบครับ...
ถ้าเป็นงาแท่งใหญ่ ราคา กก. เกินหมื่น, แต่ถ้าเป็นงาแท่งเล็ก ก็ราคา กก.ประมาณหกพันขึ้นไป..
แหล่งซื้อขายใหญ่ อยู่ที่อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ตลาดงาช้างที่สำคัญ ไม่ใช่ "แท่งงา" แต่นำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม...
คือการนำงามาแกะเป็นพระพุทธรูป โดยเฉพาะรูปเจ้าแม่กวนอิม
หรือหากได้งาขนาดเล็ก ท่อนเล็ก หรือเศษงา ก็เอากลึงทำลูกประคำ
แล้วลักลอบส่งไป ฮ่องกง จีน และไต้หวัน (ในประเทศเรา ก็มีเศรษฐีที่ทำจริตว่าเคร่งศีล และนักการเมือง เป็นลูกค้าไม่น้อย)...
อย่างไรก็ตาม ที่ผมเล่าให้ฟังนี้
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า เป็นการให้ข้อมูลบางด้าน
และผมก็ไม่ได้ต่อต้านหากใครจะใช้งาช้างมาทำ saddle.
พูดถึงเรื่องนี้...
ลองมองหา "งา" Mammoth (ช้างยุคน้ำแข็ง) ซึ่งพบซากเป็นจำนวนใน Siberia และมีการค้าขายได้ไม่ผิดกฎหมาย
หลายประเทศในตะวันตก มีธุรกิจขาย Mammoth Ivory (จะออกสีเหลืองนวล ๆ ) ซึ่งมีทั้งแบบเป็นท่อน เป็นแผ่น หลายขนาด หลายราคา เฉลี่ยประมาณระหว่าง $300 - $ 1,600 ตามเกรดของงา
นอกจากนี้ก็ยังมี งา-ฟอซซิล ของ Walrus
เพื่อนผมคนหนึ่ง เคยสั่งทั้งงา แมมม็อธ และงาฟอซซิลของวอลรัส แบบเป็นท่อนเข้ามา เพื่อนำไปทำประกับด้ามมีดด้ามปืน...
...ผมคิดว่า เมื่อการค้า Mammoth Ivory และงาฟอซซิล ไม่ผิดกฎหมายของประเทศตะวันตก ก็น่าจะมีการนำมาทำ saddle หรือ pin สำเร็จรูป.