ทีเเรกนึกว่า..ที่นี่จะกลายเป็นบอร์ดทะเบียนราษฎร์หน่ะครับ ช่วงนี้ มีเเจ้งมา เเจ้งไป มานานเเล้ว เพิ่งมา กลับละนะ อะไรประมานนี้เยอะดีครับ
ผมเลยมาเเจ้งข่าวบ้าง ว่า.... " ไปส่งของมา "......
.งงสิครับ ส่งอะไรของมัน
วัดสำหรับผม บางทีก็คล้ายๆ ที่ทำการไปรษรณีย์ พระสงฆ์ เหมือนเจ้าพนักงาน บุรุษไปรษณีย์
การตักบาตร ถวายสิ่งต่างๆ ก็คล้ายๆกับ เราส่งของจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่นึง ที่ไปรษณีย์เเห่งทางโลกไม่อาจส่งถึงได้ เราก็เลยต้องใช้วิธีการพิเศษนี้
ไม่งั้นอาจจะลองวิธีนี้ดูครับ
" น้องครับ.....ช่วยส่ง..กุศลดี กรรมดี ส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวร ที่ชาติภพ ที่ 65822458 ทีครับ ที่เหลือ ส่งไปยังเจ้าคุณปู่ เเล้วที่เหลือ ห่อกลับมาให้เทพประจำตัว ".....อะไรประมานนี้
ถ้าเราเดินไปจ่ายในเคาท์เตอร์เซอร์วิส ในเซเว่น คงฮาดีครับ วันหลังว่าจะลองดูเหมือนกัน 5555
ก็อย่างที่ว่า...ผมไปส่งของ ส่งเสร็จมี พิมพ์ส่งข้อความด้วยครับ คล้ายบิลใบเสร็จ ดังนี้ครับ
หมูปิ้ง ปากกา หลอดไฟ ตักไว้ อนุโม
อุทิศ ญาติโก เทพตัว เจ้ากรรม
รัก = ใส่ใจดูเเลรักษา
จากที่ผ่านๆมา คนรับข้อความ จะอนุโมทนาอยู่เเล้ว เพราะคนที่ทำให้ต้องตื่น คนสั่งของ ช่วยออกไอเดียว่าวันนี้ทำบุญอะไรดี คือคนนี้เเหละครับ
จากกิจกรรมที่เล่าดังกล่าว บังเอิญมีการปฏิบัติตรงหัวข้อของการทำกุศลดีที่เป็นบุญหลายข้อ
๑. ให้ทาน .....อันนี้ก็เท่าที่ทำอยู่เสมอก็ ตื่นมาจาคะ บริจาค ทนุบำรุงศาสนา
๓. เจริญภาวนา ..... ระหว่างเดินไป สวดมนต์ท่องบทบางบทตลอดก้าวย่าง เเละจริงๆก็ทำเช่นนี้ตลอดเวลาจิตว่างๆ
๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด
.๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)
ก็งส่งข้อความไปเเจ้ง ว่าทำอะไรมา ร่วมอนุโมทนากัน
..๗. มีใจอนุโมทนา
๙. นำแสดงออกไม่ได้เว้น ....ก็กำลังพิมพ์นี่เเหละครับ
๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้อง
ที่ยกมาสั้นๆ เพื่อให้กลับมาย้อนดูว่า จริงๆมันไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเลย
มาในวันนี้ ผมจะมาเเนะนำการทำบุญ ในเเบบที่จะทำกันได้ไม่ยาก ด้วยความเข้าใจ
จริงๆเเล้วไม่ต้องลงทุนลงเเรงอะไรนักเลยครับ เรียบง่ายมากๆที่จะทำความดีงาม
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
หรือ การทำบุญ ๑๐ วิธี
ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ
๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม
๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ
๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น
๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)
๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)
๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)
๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)
๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)
๙. แสดงธรรม ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)
๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)
ทิฏฐุชุกรรมหรือสัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิดและทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง
การทำบุญ ๑๐ ประการนี้ สามารถสรุปเป็นข้อความคล้องจองกันว่า
๑. แบ่งปันกันกิน ๒. รักษาศีล คือ กาย วาจา
๓. เจริญสมาธิภาวนา ๔. กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
๕. ยอมตนรับใช้ ๖. แบ่งให้ความดี
๗. มีใจอนุโมทนา ๘. ใฝ่หาฟังธรรม
๙. นำแสดงออกไม่ได้เว้น ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้อง
หวังว่าคงเกิดประโยชน์บ้าง สำหรับผู้อ่านที่สนใจนะครับ ลองดู ลองดี ลองทำความดี ทำบุญกุศล
ผมขออนุโมทนากับประโยชน์ใดๆทางปัญญา เเละ กรรมดีๆของท่านๆต่อไปด้วยนะครับ
อย่างเเรกๆเลย ก็มีใจอนุโมทนา ใฝ่หาฟังธรรมพอสมควรเเล้วหล่ะครับ อ่านถึงตรงนี้เเล้ว
ส่วนจะ ทำความเห็นให้ถูกต้องยังไงต่อไป ก็สุดเเต่วิบากใครหล่ะครับ
ทำดีไม่มีฤกษ์ ไม่เวลาครับ ทำได้ตลอดที่เราพร้อมครับ
............. ;?? ?..............
*.:??*Parradee ...A Journey of Us - ?.:* *.:??*?;??
อย่าไปเอาอะไรกับนักเขียนนิยาย