(12-03-2009, 14:31)ลูกแกะ Wrote: .....ถ้าเราจับคนป่า หรือคนที่ไม่เคยฟังเพลงเลยซักเพลงมาคนนึง
แล้วให้เค้าเขียนเพลง หรือร้องพลงออกมา
เราจะได้ทำนองที่แตกต่างจากเพลงที่มีอยู่บนโลกนี้มั้ย
ในเมื่อ เวลาที่เราแต่งเพลง ก็มักจะมีทำนองที่เคยผ่านหู
หรือทำนองที่ชื่นชอบ หรือประโยค หรือวลีที่ผ่านหู เข้ามาอยู่ในเพลงที่เราแต่งเสมอๆ
...คนป่า ผมไม่รู้
เพราะสำหรับผม ...คำว่า "คนป่า" ดูเหมือนเป็นทัศนะชาวตะวันตก ยุคล่าอาณานิคม...
แต่ถ้าผู้คนตามท้องถิ่นห่างไกล ผมตอบได้เลยจากประสบการณ์ที่ผ่านพบว่า ได้ทำนองเพลงที่แตกต่างมากมายอย่างยิ่งครับ...
ตัวอย่างเช่น...
หลายปีก่อน ที่เมืองมัณฑเลย์ ประเทศเมียนม่าร์... หนุ่มพม่านายหนึ่ง นั่งเล่นเครื่องดนตรีหน้าตาคล้าย Resonator guitar เพลงที่พรั่งพรูออกมาจากเครื่องสายที่ผมได้ยินในคืนนั้น เชื่ออย่างยิ่งว่าเป็นท่วงทำนองที่หนุ่มนายนี้มิได้จำจากที่ไหนแล้วเอามาทำซ้ำ...
หลายปีก่อน ที่เมืองจอร์จทาวน์ ประเทศอัฟริกาใต้... สาวชาวบัวร์ (คนขาวที่พวกคนขาวเอง เคยไม่นับเป็นคนขาว!) บรรเลงเพลง folk ที่เธอแต่งเองร้องเอง ในตลาดนัดวันอาทิตย์ ในวลีดนตรีผมมั่นใจว่าไม่มีวลีไหนไปหยิบยืมใครมา...
หลายปีก่อน กลางท้องทุ่งกันดาร ในใจกลางออสเตรเลีย... ผมบังเอิญตั้งแค้มป์ ใกล้ ๆ กับที่พักของชาวอะบอริจิ้นกลุ่มเล็ก ๆ แล้วรอบกองไฟในคืนนั้น ก็ได้ยินเพลงที่พวกเขาขับขาน โดยมีแก่นไม้เป็นเครื่องให้จังหวะ และท่อไม้ยาวกว่าวา (didgeridoo) เป็นเครื่องเป่า และแน่นอนว่าเป็นทำนองดึกดำบรรพ์ที่ไม่เหมือนใครแน่...
ไม่กี่ปีก่อน ระหว่างเร่ร่อนในตุรกีภาคตะวันออก... ที่เมืองเล็ก ๆ ขณะผมแวะกินมื้อเที่ยง มีชาวเตอร์วัยกลางคน นั่งเล่นเครื่องสาย ด้วยทำนองที่เหมือนตะวันออกบรรจบตะวันตก จนทำให้ผมยังจดจำวลีดนตรีบางท่อนของเขาได้...
ฯลฯ....
ครับ... ประเด็นอยู่ที่ว่า - - หมุดหมายของน้าหนึ่ง ในกระทู้นี้ คืออะไร???
...ถ้าจะว่ากันแบบ pure art ก็คงต้องวิจารณ์กันแบบหนึ่ง...
...ถ้าจะว่ากันแบบ commercial art ก็ต้องพูดกันอีกแบบหนึ่ง...
...แล้วความบังเอิญซ้ำของท่วงทำนองในเพลง -ก็เรื่องหนึ่ง...
...กับความตั้งใจหยิบมาใช้ซ้ำแต่เบี่ยงบ่ายเลี่ยงอ้างให้ฟังดูดีกว่าคำว่า copy -นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง...