Thread Rating:
  • 0 Vote(s) - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
มาแนะนำตัวครับ
Author Message
Maew Offline
Senior member
****

Posts: 470
Likes Given: 0
Likes Received: 0 in 0 posts
Joined: 03 Feb 2009
Reputation: 26
#27
RE: มาแนะนำตัวครับ
(22-04-2009, 18:34)ler2sup Wrote: ผมขอเล่าให้ฟังแบบนี้ครับ(ผมก็เพิ่งรู้ตอนมาเรียนนี่แหละ)... คนที่กล้าบอกว่าดูเป็นนะครับ ส่วนใหญ่เป็นพวก curator ซะมากกว่า ที่มีอาชีพดูงานให้เป็นครับ อย่างคนธรรมดาทั่วๆไปที่ชอบดูงานศิลปะ ก็ขอแค่มีความสุข หรือรับรู้อารมณ์จากภาพนั้นๆโดยที่ไม่ไปปรุงแต่งล่วงหน้า (สำนวนทางพระนิดนึงนะครับ) ก็น่าจะพอแล้วครับ
ไม่ใช่ว่า พอเราไปดูงานศิลปินดังแล้วมันต้องโดนใจ หรือต้องประทับใจนะครับ ถ้าเราไม่ชอบก็รู้ว่าไม่ชอบเท่านั้นเอง หลังจากนั้นถ้าสนใจ ติดตามงานใครถ้ารู้ประวัติบ้างเราก็จะค่อยๆ สนุกมากขึ้นครับ...อืม เหมือนเราฟังคนที่เรารู้จักเล่าเรื่องให้เราฟังหน่ะครับ มันจะไม่เหมือนฟังคนแปลกหน้าเล่าเรื่องให้ฟัง เพราะเราจะพอรู้ปูมหลังของคนเล่า เราก็สนุกมากกว่า เข้าถึงอารมณ์ได้ดีกว่า
ที่พูดมาไม่ได้หมายความว่า ถ้าจะดูงานต้องรู้นั่นรู้นี่ หรือพูดไอ้นี่ไม่ได้ไอ้นั่นไม่ได้นะครับ อยากบอกแค่ว่า"อย่ากังวล"ครับ เราก็ใช้วิธีดูช้าๆ อย่าให้คำพูดคนใดคนหนึ่ง หรือข้อวิจารณ์ใดๆ เข้ามามีผลต่ออารมณ์เราก่อนครับ แล้วเรารู้สึกยังไงค่อยๆรับรู้ไป มันก็จะเฉียบคมขึ้นเรื่อยๆเองครับ ถ้าเราชอบดูงานศิลปะจริงๆ อยากดูอย่างมีความสุขมากกว่าคนทั่วๆไป ก็ต้องให้เวลาบ้างครับ งานศิลปะมันต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับศิลปินบ้าง เกี่ยวกับสังคมบ้าง จะได้รู้ว่า เขาเคยทำยังไง ตอนนี้เป็นยังไง ดีขึ้น-เลวลง เราชอบมากขึ้นหรือเราชอบน้อยลง ตอนที่ดูก็จะสนุกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆครับ คงคล้ายกับทุกอย่างแหละครับ ยิ่งรู้ลึกยิ่งมันส์ครับ Tongue
...
ภาพที่ผมเอามาลงเป็นภาพที่เสร็จแล้วครับ คำว่ายังไม่ลงตัวของผม คือแนวทางการวาดภาพหน่ะครับ มันยังไม่เป็นอย่างที่ใจนึก น่าจะคล้ายๆเล่นกีต้าร์ยังไม่ได้อย่างฝันไว้ หรือนึกไว้ครับ ส่วนกระทู้แกลลอรี่ ผมว่าขอเวลาอีกดีกว่าครับ ถ้าเป็นพวกประวัติศาสตร์ศิลปะที่สนุกๆ อันนี้จะน่าสนใจครับ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มีคนยอมรับแล้ว เราก็เอาไปเสพต่อ ไปคิดต่อ ลองนึกแย้ง นึกคล้อยตามน่าจะสนุกครับ ไว้ถ้าเจอประเด็นดีๆ จะมาลองเล่าให้ฟังครับ แต่เอาแค่เป็นน้ำจิ้มนะครับ เดี๋ยวจะเยอะไป Smile

ผมมั่นใจครับว่า ผมดูไม่เป็น

คงเข้าข่ายดูความสวยงาม ตามอารมณ์แบบผ่านๆ
เรื่องรายละเอียด ในเชิงเทคนิค หรือ ประวัติ ก็ไม่ได้รู้อะไรกับเค้า

แต่ผมเชื่ออย่างที่น้าช้างบอกนะครับ
การที่เราจะเสพงานศิลปะได้ลึกขึ้น เข้าถึงสุนทรียรสมากขึ้น
ก็ต้องให้เวลาศึกษา ค้นคว้า
..และมันก็เป็นอย่างนี้ทุกเรื่อง แม้กระทั่งงานทางวิทยาศาสตร์ก็มีความงามในแบบของมันเหมือนกัน

ผมขอเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ อย่างคณิตศาสตร์เอง มีสมการอยู่สมการหนึ่งที่ผมชอบมากๆและมองว่ามันสวยงามมาก ผู้คิด คือ ออยเลอร์ ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางคณิตศาสตร์ท่านหนึ่ง

[Image: euler.jpg]

e คือ เลขฐานของลอการิทึมธรรมชาติ
i คือ จำนวนจินตภาพ
pi คือ ค่าพาย - อัตราส่วนของเส้นรอบวงกลมกับเส้นผ่านศูนย์กลาง

ค่า e และ pi เป็นจำนวนอตรรกยะ (มีทศนิยมไม่ซ้ำเป็นรูปแบบอย่างไม่รู้จบ)
i คือ ตัวเลขที่ไม่ใช่จำนวนจริง ซึ่งยกกำลังสองแล้วได้ -1

ผมเริ่มอธิบายมากไปละ....

น้าช้างน่าจะเรียนมาทางสายศิลป์ ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ต้องสนใจหรอกครับ
ผมแค่อยากจะเสนอมุมมองจากเด็กวิทย์คนหนึ่งว่า มันมีความงามจากคณิตศาสตร์เหมือนกัน

สมการนี้คงไม่ได้ถูกพูดถึงในหลักสูตรที่เรียนๆกัน เพราะมันไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจริงจัง
แต่ผมรู้สึกว่า มันคล้ายๆงานศิลปะของนักคณิตศาสตร์เลยทีเดียว
ตอนที่ผมเห็นมันครั้งแรก รู้สึกว่า มันน่าทึ่ง และตื่นตาตื่นใจมากๆ
เพราะ จำนวนที่ผมขยายขี้เท่อให้ฟังนี่ เป็นตัวเลขที่ไม่น่าจะมาเกี่ยวข้องกันได้เลย
ตอนเรียนเรารู้จักจำนวนทั้งสามตัวนี้จากหัวข้อต่างๆกัน และทั้งสามตัวนี้เป็นตัวเลขที่ไม่ธรรมดาในทางคณิตศาสตร์
แต่ทั้งหมดสามารถถูกเขียนออกมาในรูปของสมการที่เรียบง่าย และงดงาม..

..ก็เป็นตัวอย่างนึงนะครับที่อยากจะแชร์ว่า สายวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ก็มีความงดงามในแบบฉบับของมัน และ งานสาขาใดก็ตาม ถ้ารู้และเข้าใจมากขึ้นก็จะเข้าถึงอารมณ์ของงานได้มากขึ้น

ถ้าน้าช้าง มีเกร็ดประวัติงานศิลปะอะไรน่าสนใจ ก็เชิญเลยครับ
ผมขอตีตั๋วนั่งแถวหน้าก่อนเลย
" Remember happiness doesn't depend upon who you are or what you have; it depends solely on what you think. "
- Dale Carnegie
(This post was last modified: 23-04-2009, 20:55 by Maew.)
23-04-2009, 10:46
Find Like Post Reply


Messages In This Thread
RE: มาแนะนำตัวครับ - by Maew141 - 23-04-2009, 10:46

Forum Jump:


Users browsing this thread: 4 Guest(s)

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication