เจอกันอีกเเล้วคราวนี้เเบบนอกสถานที่ พอดีมาต่างจังหวัดเเล้วมีคนที่อยากให้ช่วยอธิบายอะไรบางอย่าง ผมจึงส่งมาโดยการรวบรวมที่เคยเขียนไว้เเต่ไม่ถูกจัดเข้าหมวดหมู่มาลงซ้ำ พร้อมเพิ่มส่วนที่จำเป็นได้เเก่เรื่องความหมายของ Grove :
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการอยากหาคำอธิบายนิยามความหมายของสิ่งเหล่านี้ ซึ่งผมเองหาเเล้วไม่ค่อยพบข้อมูลที่ต้องการนัก
หากท่านใดมีความรู้อยากให้ลองช่วยกันทำความเข้าใจเเละช่วยกันเรียบเรียงออกมาก้คงจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการหาความรู้ในสิ่งนี้
ขอบคุณมากครับที่ให้การสนใจ
ดนตรี...คืออะไร?...ในทัศนะข้าพเจ้า
ในเเง่ความหมาย จริงเเล้วเคยเขียนไว้ที่ๆหนึ่ง ขอคัดตัดตอนมาในส่วนที่จะอธิบายให้เข้าใจถึงเรื่องนี้กันนะครับ
องค์ประกอบดนตรี ตามที่เป็นหลักการจริงๆเลย .....ผมมักถามคนต่างๆ ก็จะตอบต่างๆกันไป ซึ่งผมไม่ชี้ว่าใครถูกผิด
แม้แต่คนจบปริญญา ด้านดนตรี หลายๆดนก็ มีคำตอบ ให้ได้อมยิ้มกัน
ถ้าถามผม ผมจะอ้างอิง อาจารย์ น้อย อานนท์ และ อาจารย์ บรูซ ท่านกล่าวไว้เหมือนกันว่า
ดนตรีประกอบด้วย 3 ส่วน หลักๆ คือ
1 เมโลดี
2 ฮาโมนี่
3 ริทึ่ม
ที่ต้องมาอธิบายจำแนกเรื่องง่ายๆนี้ ซึ่งจริงคงรู้กันหมดอยู่แล้ว เพราะก็มี ผู้เชี่ยวชาญ คงแก่เรียน ผ่านไปมามากมาย
จึงขอยกมาเค่หัวข้อหลัก ไม่แปล อธิบายใดๆ
ผมได้ทำการอธิบายแบบ ผมพอเข้าใจแล้ว และ คิดว่าคงมีประโยชน์บ้างแม้อาจเพียงเล็กน้อย
และคงมีคนสงสัย อยู่หลายข้อ แล้วคงไม่มีใครถามอะไร คนถามก็คือเจ้าเก่า 2-3คน
ระบบการสอน และ อุปนิสัย ไม่คิดอะไร ไม่แปลกแยก แตกแถว ดังที่ อาจารย์ นิ ธิ เคย กล่าวไว้จากการวิเคราะห์ระบบการศึกษาไทย
ที่กล่าวในเชิงว่า มีลักษณะถูกวางยาไว้ จากทางฝรั่งที่เข้ามาทำการช่วยสร้าง เขียน มอบตำรา ช่วยวางรากฐานการศึกษาไทย
ให้ไม่คิดอะไรมาก เพื่อเราจะได้ถูกครอบครอง เป็นเมืองขึ้นโดยง่าย /
ผมมักชอบคำถามมีสาระ จากนักเรียนเกเร แต่ใฝ่รู้ ...ไม่ใช่คนที่ จ่ายค่าเรียนล่วงหน้า แต่ผมไม่เคยเห็นเขาพัฒนา หรือ คิดอะไรบ้างเลย
ผมจึงล้มเหลวทางธุรกิจการสอนเสมอ
มาขยายกัน
ดนตรีประกอบด้วย 3 ส่วน หลักๆ คือ
1melody.....
คือเสียงหลัก ที่จัดให้เข้ากับจังหวะเป็นระดับสูงต่ำ ต่อเนื่องกันไป ในเเนวนอน เป็นเส้นขนานไป เมื่อมองภาพจาก สกอร์โน๊ต
2 Harmony..... เสียงประสาน คือ องค์ประกอบของเสียงซึ่งทำให้เกิดความสมบูรณ์ ปกติทำนองเพลงเป็นการดำเนินทำนองเป็นเส้นขนานหรือแนวนอน สำหรับเสียงประสานเป็นการผสมผสานของเสียงมากกว่า 1 เสียงในแนวตั้ง การประสานเสียงเป็นองค์ประกอบที่สลับซับซ้อนมากกว่าจังหวะ การประสานเสียงที่มีลักษณะของการเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงเราเรียกว่า ?ขั้นคู่? (intervals) แต่ถ้ามากกว่า 2 เสียงขึ้นไปเราเรียกว่า ?คอร์ด? (Chords)
1. ขั้นคู่เสียง (Intervals) หมายถึงเสียง 2 เสียงที่เขียนเรียงกันในแนวตั้งและเปล่งออกมาพร้อม ๆ กัน การนับระยะห่างของเสียงเรียงตามลำดับขั้นของโน้ตในบันไดเสียง ขั้นคู่เสียงถือว่าเป็นเสียงประสานที่มีความสำคัญในการเขียนเพลง สำหรับในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงขั้นคู่เสียงเพียงเบื้องต้นเพื่อให้พอมองเห็นภาพของเสียงประสานเท่านั้น
2. คอร์ด (Chords) หมายถึงกลุ่มเสียงตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป เรียงกันในแนวตั้งและเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน คอร์ดมีมากมายหลายชนิดแล้วแต่ลักษณะการใช้นำไปใช้ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคอร์ด 3 ชนิด ใหญ่ ๆ รวมถึงวิธีการสร้างคอร์ด (Chord Construction) ดังนี้
1) ตรัยแอ็ด (Triad) คือ คอร์ดที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง โดยเกิดจากการนำโน้ตลำดับที่ 1st ,โน้ตลำดับที่ 3rd และโน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียงมาจัดเรียงกันในแนวตั้ง
2) คอร์ดที่มี 4 เสียง (Seventh chords) หมายถึง คอร์ดตรัยแอ็ดที่เพิ่มโน้ตลำดับที่ 7th ต่อจากโน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียง
3) คอร์ดที่มี 5 เสียง (Ninth chords) หมายถึง คอร์ดตรัยแอ็ดที่เพิ่มโน้ตลำดับที่ 9th ต่อจากโน้ตลำดับที่ 7th และ โน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียง
3 rythm
จังหวะ... หมายถึง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองหรือเสียงในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนของการให้จังหวะ การกระแทกเสียงหนักเบาของคำไม่ใช่ พยางค์ เหมือนกับ pronouciation ของคำ
beat คือจังหวะของดนตรี
pronouciation คือการลงเสียงหนักเบาของคำซึ่งสำคัญมากกว่า accent เสียอีก
emotion ของอารมณ์ของผู้เล่นว่าอารมณ์ไหนต้อง upbeat หรือ down beat เพิ่มหรือลดจังหวะ การแบ่งวรรคหนักเบาในการเล่น
เเละอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดที่จะขอเน้นคือ...
Grove ... สิ่งสำคัญมากๆที่ไม่ค่อยถูกสอนกันมาเท่าไหร่ เพราะผู้สอนเองก็อาจจะไม่มีความเข้าใจเพียงพอ เนื่องจากการสอนเป็นงานที่มักทำกันเเบบมืออาชีพ
ขอภาคผนวกก่อนเลยนะ ไม่ชอบก็ข้ามไป พอดีเป็นคนขี้บ่นครับ ขอหน่อย
คือทำยังไงก็ได้เพื่อให้มีคนมาเรียนเเล้วได้เงิน ขายตำรา ขายชีส ซีดี อุปกรณ์เครื่องมือ เอามันทุกอย่าง เเต่สิ่งเเรกที่ขายไปเเต่เริ่มเเล้วคือ ขายจรรยาเเห่งความเป็นครูผู้ให้อย่างเเท้จริง
คนที่ยึดอาชีพสอนๆกันอยู่ทุกวันนี้ โดยมากมักไม่ได้มีความรู้เพียงพอในขั้นประสพความสำเร็จในเเขนงวิชาด้านนั้นๆกันเท่าไหร่
คนที่เป็นผู้รู้ใช้งานจริง หรืออยู่ในจุดสำเร็จของเเขนงวิชา อาจจะไม่มีเวลางานยุ่ง ไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดที่ดี หรือไม่มีจังหวะโอกาสที่เหมาะที่ควร
เอากันแบบชัดเจนขึ้นอีก ก็เรื่องค่าตอบแทนแหละครับ คนที่สอนดาษดื่นมีจำนวนที่มาก มีการพัฒนาประชาสัมพันธ์เสนอขายบริการการสอนโดยใช้สื่ออย่างมากมาย ตั้งสถาบันอุปโลกว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ใช้เทคนิคการสร้างแบรนด์ หลอกหลอนด้วยสื่อทุกรูปแบบเท่าที่จะทำได้ สร้างความเชื่อให้คนเข้าใจในแบบที่ต้องการ
เพื่อคนมาเชื่อ มาซื่อบริการการสอน ทีนี้ก็เข้าทาง
มันกลายเป็นอุตสาหกรรม การค้าในเชิงการสอน เกิดการควบคุมราคาจากนายทุน คนต่างๆในวงการสอนก็รับไปในอัตราค่อนข้างเเย่
ผู้มีความสามารถตัวจริงเสียงจริงที่ไหนจะรับค่าตอบเเทนอยู่รอดในเเบบนั้นได้ เค้าก็ต้องทำอาชีพอื่นกันหมด ค่าตอบเเทนมันอยู่ไม่ได้
สอนกันจริงๆค่าเเรงของผู้เชี่ยวชาญที่สอนให้คุณไปใช้งานได้จริงก็อาจถูตำหนิว่าราคาเเพงไปอีก ถ้าเกิดการเปรียบเทียบกับราคาบริการเเบบท้องตลาดที่มีดาษดื่น เเต่โชคผมคงยังดียังไม่เคยเจอกับตัวเอง
ไอ้วิธีการสอนที่ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย น่าเบื่อจนทำให้ท้อเลิกไปก็อีกส่วน อย่างเช่นดนตรีจับเขามาเรียนโดยชุดวิธีคิดที่ออกเเบบวิธีสอนเเบบเดียวกัน ทั้งที่เเต่ละคนมีพื้นฐาน มีรสนิยมต่างๆกันไป
เราต่างจับนักศึกษามายัดเยียดสิ่งต่างๆโดยไม่เข้าใจธรรมชาติของเเต่ละบุคคลกันเลย สอนให้ลอกให้เลียนในสิ่งที่เคยผ่านมา โดยวิธีการที่น่าเบื่อ ไม่เข้าใจกระบวนการสร้างอย่างเเท้จริง
Leo Tolstoyนักเขียน เเละปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดของโลกกล่าวไว้ว่า สิ่งที่ทำลายศิลปะก็คือโรงเรียนศิลปะนี่เเหละ ผมก็เชื่อว่ามีความจริงอยู่ เเต่เราน่าจะปรับพัฒนาวิธีการนำความรู้ การดึงศักยภาพของเเต่ละบุคคลมากกว่า
เเต่บางทีก็พูดยากเพราะสถาบันต่างๆที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นตัวเรียกความเชื่อมาให้ผู้ซื้อเลือกซื้อบริการ
เนื่องจากความน่าเชื่อ ความสามารถของตัวผู้สอนไม่ได้มีน้ำหนักดึงดูดเพียงพอ
ถึงผมจะไม่เเคร์สื่อ เเต่ก็ไม่ได้ลงน้ำหนักไปที่สื่อว่าเป็นตัวสร้างความเชื่อหรือกระเเสทั้งหมดในสังคมหรอกนะ หุหุ......
ประชากรในประเทศโลกที่สามที่น่ารักอย่างพวกเรา ที่เชื่อว่ากำลังพัฒนานี้ คงฉลาดพอที่จะไม่ถูกครอบงำทางสื่อนะครับ
ครูในสถาบันต่างๆ บางคนก็ดีนะครับ แต่ต้องถูกระบบมาตรฐานการสอนสังคม ทั้งในเรื่องหลักสูตรเลี้ยงไข้วางยา เรียนเข้าไป หลอกหลอนซื้อเวลาเข้าไว้ กว่าจะได้ความรู้ นอกกรอบนอกเเผนก็ไม่รู้ทำไง เป็นเเกะดำอีก
ผมว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากสำหรับคนที่ต้องอยู่ท่ามกลางสังคมแบบนั้น
เเต่บางทีก็เลือกไม่ได้ หรือไม่มีวิสัยพอที่จะเลือก
เรื่องตลกกว่านั้นอีก ก็ไอ้ผู้เรียนนี่แหละครับ หลายๆจำนวนที่มา บางทีมาเพราะแม่ต้องไปนั่นนี่ พ่อไม่ว่าง เอาโรงเรียนอะไรสักอย่าง พามันมาโยนเอาไว้ซื้อเวลา
จริงๆแล้วถ้าคิดว่าจะยุ่งยากนักรักตัวเองไม่มีเวลาเลี้ยงลูกก็อย่าเอาเด็กที่น่าสงสารเหล่านั้นมาสร้างภาระกับเด็กที่ตั้งใจมาเรียนเลยนะครับ เด็กตั้งใจจะกลายเป็นเด็กที่น่าสงสารกว่า
ระบบสังคมการศึกษาผมว่ามีส่วนเป็นอย่างมาก กับการเรียนการสอน การได้รับอิทธิพล การรู้เห็นบางทีมันก็นำพากันให้เขวไปในทิศทางที่ไม่รื่นรมย์กับการค้นหาความรู้กัน
ใครไม่แข็งแรงก็จะโดนชี้นำไปในทางพวกมากลากไปได้ และเราคงต้องยอมรับว่า ไอ้พวกมากนี่แหละมักจะเป็นในเชิงไม่ค่อยดีอยู่เสมอ
เเน่นอนคำที่เขาว่า ทางที่ดีมักไม่ค่อยสะดวกสบายมันจริง เเต่ คนเรามักจะเลือกทางที่ง่ายเสมอ ผมว่าก็น่ารักดี ใช้ชีวิตกันไปครับ
นอกเรื่องบ่นมามากเรามาต่อกันที่ Groove กันต่อ ผมอยากเน้นเรื่องนี้สักหน่อยเพราะหาผู้เข้าใจข้อมูลถ่ายทอดมีน้อยมาก
จากWikipedia เขาว่าไว้แบบนี้
Groove is the sense of propulsive rhythmic "feel" or sense of "swing" created by the interaction of the music played by a band's rhythm section (drums, electric bass or double bass, guitar, and keyboards). The term is mainly used in the context of genres outside of Western art music, such as funk, rock music, power groove, fusion, and soul
เขาว่าสั้นๆว่าความ แกว่ง "" สร้าง โดย ปฏิสัมพันธ์ ของ เพลง ที่ เล่น โดย ส่วน จังหวะ ของ วง ดนตรี
เเต่ตามหัวข้อในทัศนะข้าพเจ้าก็ต้องว่ากันเเบบหัทยาครับ
ขออธิบายความหมายของคำว่า
Groove ดังนี้
ในความคิดผมคิดว่า Groove จะเป็นความรู้สึกร่วมที่ใช้ในการบรรเลงในจังหวะ (Rhythm)ที่เกิดขึ้น
Groove จะก่อให้เกิดสัดส่วนที่ชัดเจนกับการจัดวางโน้ตต่างๆ การเน้น การวางน้ำหนัก ความสั้นยาว ก่อให้เกิดการความรู้สึกที่แตกต่างกันไปในแต่ละแบบ
ซึ่งจะบอกบุคลิค Style เอกลักษณ์ในบทเพลง บางทีกก็อาจจะขัดแย้งกับ Metronome ไปบ้าง แต่ก็อยู่ภายใต้การควบคุมที่คงที่
Groove ทำให้ดนตรีที่เกิดขึ้นมีชีวิต เหมือนชีพจรที่ทำให้ Rhythm , Riff, Melody ต่างๆในดนตรีนั้นๆมีความรู้สึก
การเน้นจังหวะต่างกันก็ทำให้ ความรู้สึกต่างกัน
Groove
มีการตีค่า ตีความรู้สึกเเตกต่างกันในการเเสดงออกเเม้งานชิ้นเดียวกัน บางครั้งมีทัศนะส่วนตัวเเสดงความเป็นปัจเจกของเเต่ละบุคคลได้
เมื่อเข้าใจGroove ต่อให้เล่นเสียงเพี้ยนๆก็ยังคงสื่อสารได้อยู่ หากเข้าใจการจัดจังหวะประโยคสื่อสารถามตอบในบทเพลงนั้น
มีตัวอย่างครับ ลองทนๆฟังดูเคยไปบ่นๆไว้นานเเล้ว
หากทนผ่านครึ่งเเรกได้ เชิญภาคต่อครับ
เอาหล่ะความหวังดีที่มีกับชาวโลกคงพักก่อนเพียงเเค่นี้
ข้องใจ สงสัย อยากเสริม เชิญได้เลยครับ
ถ้าเราคิดถึงตัวเองน้อยลง คิดถึงผู้อื่นบ้างโลกก็จะน่าอยู่ขึ้น
หัทยา สงวนสิน
Parradee Traveler เขียนระหว่างเดินทางทัวร์ปากช่อง
ตักบาตรมาเชิญอนุโมทนากัน มีเรื่องอะไรเยอะเเยะมาก ไว้จะเล่าให้ฟังครับ