เดี๋ยวนี้เวลาเปิดทีวีและเว้บติดตามข่าวน้ำท่วมเพื่อวางแผนป้องกันหรืออพยพก็เจอแต่คนด่ากันไปด่ากันมาโดยไม่มีสาระจนผมเบื่อแล้วครับ ผมเลยอยากจะมายกย่องพวก "พระเอก" ที่คอยช่วยเหลือประชาชนบ้าง
พระเอกรายแรกคือกองทัพไทยครับ
........คอยช่วยเลือผู้ประสพภัย
........สู้กับน้ำทั้งๆที่ไม่มีทางชนะ
......รักษาพยาบาลประชาชน (นางเอกก็มีครับ)
ส่วนในด้านข้อมูลข่าวสารที่ทำให้เราสามารถคาดการณ์และวิเคราะห์ว่าน้ำจะท่วมที่ไหน เมื่อไหร่และท่วมนานไหมนั้นมีอยู่หลายเว้บครับแต่อันดับหนึ่งขอยกให้
กรมแผนที่ทหาร
กรมแผนที่ทหารนั้นมีข้อมูลอย่างละเอียดของภูมิประเทศซึ่งตามปกติแล้วเขาไม่แชร์กับหน่วยงานอื่นเพราะถือเป็นความลับทางราชการทหาร พอมีเหตุน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ก็ปรากฏว่าไม่มีหน่วยงานอื่นมีรายละเอียดของภูมิประเทศแบบครบถ้วนเลย ในตอนแรกบรรดาผู้เขี่ยวชาณทั้งหลายเลยออกมาคาดการณ์กันผิดถ้วนหน้าทั้งๆที่รู้ดีว่าน้ำนั้นมันต้องไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ
เหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญเดาผิดก็เพราะแทนที่จะไปขอข้อมูลโบราณที่ใช้วิธีวัดโดยการส่องกล้องจากกรมแผนที่ทหารเขากลับไปใช้ข้อมูล digital elevation model (DEM) ที่ใช้การวัดระดับจากดาวเทียมซึ่งวัดใด้ละเอียดกว่า (ดาวเทียม NASA/USGS ระบบ SRTM วัดความสูงทุกระยะ 90 เมตร ระบบ ASTER ของญี่ปุ่นนั้นวัดทุกระยะ 30 เมตร ส่วนระบบเดินเท้าของทหารนั้นวัดทุกระยะ 2000 เมตร)
ถ้าดูเผินๆนั้นการใช้ digital data มันละเอียดกว่าข้อมูลของทหารหลายสิบเท่าครับแต่เขาลืมไปว่าการวัดด้วยดาวเทียมนั้นมันมี error 7-14 เมตรซึ่งมันใช้ไม่ใด้กับที่ราบลุ่มในภาคกลาง กว่าจะรู้ตัวก็เลยหน้าแตกกันมาหลายหนแต่ตั้งแต่ต้นเดือนก็หันมาใช้แผนที่ทหารกันทุกคนแล้วครับ
ตอนนี้กรมแผนที่ทหารเขา update สถานการณ์ทุกวันครับ อย่างรูปข้างล่างเป็นของวันที่ 10 พย.
ไฟล์สามารถดาว์โหลดใด้ที่นี่ครับ (แต่ขนาดเป็นร้อยเม็กนะครับ)
http://www.rtsd.mi.th/index.php
ตัวอย่างการคาดการณ์ทางไหลของน้ำเมื่อวันที่ 3 พย. ครับ
แผนที่นี้ไม่ละเอียดพอที่จะบอกใด้ว่าบ้านคุณน้ำจะท่วมหรือไม่ท่วมแต่คุณสามารถเดาใด้ครับเพราะน้ำมันใหลจากที่สุงไปที่ต่ำ การเดาก็ดูจากพื้นที่ที่น้ำท่วมแล้วที่อยู่เหนือบ้านคุณ ถ้าพื้นที่นั้นมีระดับสูง 1.00 เมตรและมีน้ำท่วมขังอยู่ 1.00 เมตร ถ้าแถวบ้านคุณสุง
แค่ 0.50 เมตรถ้าน้ำมันเดินทางมาถึงคุณก็ท่วม 1.50 เมตรครับ
ความจริงแล้วบ้านคุณอาจไม่ท่วมก็ใด้เพราะมันมีตัวแปรอีกสองตัวคือ
1. คันกั้นน้ำ....คันกั้นน้ำซึ่งรวมถึงถนนด้วยคือตัวบังคับทิสทางการไหลของน้ำครับ ตราบใดที่ระดับน้ำยังไม่สูงเกินคัน แต่ถ้าสูงเกินเมื่อไหร่ตัวคันก็ทำหน้าที่ใด้แค่เป็นตัวชะลอน้ำเท่านั้นเอง
2. คลองระบายน้ำ....คลองก็เป็นทั้งตัวเปลี่ยนแปลงทิศทางน้ำเหมือนกันแต่ดีกว่าคันตรงที่มันสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลใด้ด้วย
การติดตามระดับน้ำแบบ real time ดูใด้ที่นี่ครับ
http://www.gamling.org/
ส่วนระดับน้าในคลองเช็คใด้ที่นี่ครับ
http://dds.bangkok.go.th/Canal/
ผมว่าน้ำท่วมคราวนี้มีพระเอกมากกว่าผู้ร้ายนะครับ ผมแค่ยกตัวอย่างมาเท่านั้นครับ