Thread Rating:
  • 3 Vote(s) - 1.33 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
Author Message
วีรวิทย์ Offline
Member
***

Posts: 238
Likes Given: 0
Likes Received: 2 in 2 posts
Joined: 26 Aug 2008
Reputation: 19
#21
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
Rolleyes มีประโยคจาก น้าที่เป็นสมาชิกในบ้านหลังนี้ 5-6 ปีแลว ที่ร้าน เยส? อินดีดดด "โน๊ตมีไว้บันทึก สิ่งที่เล่นไป ให้กลับมาเล่นได้เหมือนเดิม"
โน๊ตคือการสร้างความเป็นสากล มีค่ามาตราฐานร่วมกัน ของทุกเครื่องดนตรีที่มี และมีผู้ที่บรรเลงกันอยู่ทั่วโลก ให้ยังคงเป็นเพลงเดิมเพลงเดียว จังหวะ คำร้อง ทำนองเดิม ไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับของผู้ประพันธ์
อย่างไรก็แล้วแต่การเรียนรู้ โน๊ต ไว้เป็นสิ้งดี เป็นรากฐานที่แข็งแรงในการพัฒนา การรู้เรียน เปิดโลกทัศนในโลกแห่งดนตรี ศาสตร์แห่งปราชญ์
ขอคาราวะแด่ผู้ที่ประดิษฐ ระบบ ตัวโน๊ต ขึ้นมาบนโลก ณ ที่นี้
ที่รายล้อมตรงนี้มีแต่เพื่อน
14-02-2009, 04:16
Find Like Post Reply
Maew Offline
Senior member
****

Posts: 470
Likes Given: 0
Likes Received: 0 in 0 posts
Joined: 03 Feb 2009
Reputation: 26
#22
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
น้า gman
ขอบคุณครับ
เราคงต้องมาดูคำว่า ทฤษฎี กัน ผมเองก็มีความรู้น้อยนิด แต่ขอแลกเปลี่ยนจากความเข้าใจที่มีอยู่ก็แล้วกัน
ถ้าพูดถึง ทฤษฏีดนตรี ภาพรวมๆที่อยู่ในหัวผมก็จะเกี่ยวข้องกับ
- Time Signature
- Scale/ Mode/ Chord
- Groove
- Harmonic
เป็นอาทิ

ผมค่อนข้างจะเอนเอียงไปทางความคิดที่ว่า จะเรียนทฤษฏีโดยที่ไม่รู้เรื่องการอ่าน/บันทึกโน้ต ไม่น่าจะเป็นไปได้
เพราะโน้ต เป็นเหมือน Standard notation เพื่อใช้สื่อสารในการเรียนเรื่องต่อๆไปที่ลึกซึ้งมากขึ้น
ผมยังนึกไม่ออกว่า ถ้าไม่เรียนโน้ตก่อน แล้วจะอธิบายเรื่องพวกนี้ให้รู้เรื่องได้อย่างไร
คล้ายๆกับ การเรียนตัวเลขและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ก่อนที่จะเรียนลึกลงไปในวิชา พีชคณิต/เรขาคณิต ฯลฯ
ถ้าไม่เรียนสัญลักษณ์ต่างๆก่อน เหมือนคนไม่รู้หนังสือ ก็อาจจะบวกลบคูณหารง่ายๆได้นะครับ
โดยที่ไม่รู้ว่า หนึ่ง มันเขียนออกมายังไง แต่บวกได้ ลบได้
แต่ถ้าพอถึงระดับหนึ่ง จะเรียนสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น เริ่มมาคูณ มาหาร ..ไปถึง...แก้สมการ
จะสอนกันโดยปากเปล่า หรือ เล่นให้ดู ได้อย่างไร..เพราะมันต้องมีการอ้างถึงสิ่งนั้น/สิ่งนี้ คือ พวก standard notation ทั้งหลาย
ถ้าไม่ใช้สัญลักษณ์มาตรฐานที่มีใช้กันอยู่แล้ว
สุดท้ายก็ต้องไปกำหนดอะไรสักอย่างขึ้นมาใหม่มาเป็นสัญลักษณ์ ให้มันสื่อสารเข้าใจตรงกันอยู่ดี

ไม่รู้ผมเปรียบเทียบได้เหมาะสมหรือเปล่า ถ้าเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างไรก็รบกวนขอคำชี้แนะด้วยครับ

น้าหนึ่ง หัทยา - ขอบคุณครับ
ว่าที่จริงแล้ว นอกจากจะมองเรื่องโน้ตและทฤษฏีในการสร้างสรรค์ผลงานแล้ว
ผมก็อยากจะแลกเปลี่ยนในแง่ที่ - มันเป็นภาษากลางที่ช่วยให้คนแต่งเพลง/ เรียบเรียงทำงานได้ง่ายขึ้น - ด้วย
ขอถามน้าหนึ่งในฐานะคนดนตรีที่อยู่ในวงการหน่อยละกันครับ
ในแง่ของการใช้ชีวิต ที่ต้องร่วมงานกับคนอื่นๆ การไม่รู้โน้ตมันส่งผลกระทบมากไหมครับ
มันจะลำบากมากๆเลยหรือเปล่า หรือว่า มันก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่ ให้คนอื่นช่วยๆบันทึกเอาก็ได้ แบบ..หน้าที่ของ composer แค่คิดแล้วเล่นออกมา อัดใส่คอมไว้ก็ได้ ที่เหลือให้คนอื่นทำไปก็ได้..อะไรทำนองนั้น

....หลังจากอ่านคห.หลายๆท่านในกระทู้นี้
ผมก็เริ่มรู้สึกว่า การที่นักดนตรีระดับโลกจะไม่รู้โน้ต/ทฤษฏี ก็น่าจะเป็นไปได้
จะว่าไปแล้ว ถึงจะเป็นอย่างนั้นจริง ก็ยังไม่ได้ใกล้เคียงความมหัศจรรย์ที่ บีโธเฟ่น แต่งเพลงโดยที่หูหนวกสนิทได้เลย
...อะไรๆก็เป็นไปได้

น้าวีรวิทย์ -ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

ขอบคุณ น้าหนึ่ง songlove, น้ากีต้าร์เก่า, น้า actb (อีกรอบ) ด้วยครับ
" Remember happiness doesn't depend upon who you are or what you have; it depends solely on what you think. "
- Dale Carnegie
14-02-2009, 08:50
Find Like Post Reply
povation Offline
Roundback
******

Posts: 15,199
Likes Given: 328
Likes Received: 227 in 148 posts
Joined: 28 Aug 2007
Reputation: 92
#23
RE: text
(13-02-2009, 15:11)Katayoot Wrote:
(13-02-2009, 14:50)pood Wrote: ถ้า ใครอยาก เป็นศิลปินดังสมัยนี้อ่าน โน้ตออกอย่าง เดียว ไม่พอหรอกครับ ต้องหน้าตาดีด้วย

อันนี้รู้เลยว่าน้า pood หมายถึงผม


TongueTongueTongueTongueTongue

น้า pood เค้าหมายถึงน้องปั๊งต่างหาก
All I Have
The dreams come true
Facebook : Povation NH
14-02-2009, 09:39
Website Find Like Post Reply
hattaya111 Offline
Man of the Moon
******

Posts: 1,126
Likes Given: 35
Likes Received: 4 in 4 posts
Joined: 31 Mar 2009
Reputation: 54
#24
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
ตอบเจ้าของกระทู้ด้วยคำเดิมที่เคยตอบ มาเพิ่มเติมนะครับ........

เพลง ดนตรี....มันคือการสื่อสารเเหละครับ

การสื่อสารมีหลายวิธีครับ หมวดการสืบต่อถ่ายทอดข้อมูล การบันทึก การเเปลความหมาย ......คือส่วนหนึ่งในการดำรงค์สิ่งนั้นออกไปให้เกิดความเข้าใจตรงกัน


เสียงมาก่อนการบันทึกครับ


การเรียบเรียงสมัยนี้ เพื่อนๆจำนวนมาก ไม่อ่าน หรือ เขียนบันทึกอะไรเลย ป้อนลง ทดลองกดอัด ก็เป็นการบันทึก เเล้วส่งไปยังผู้อื่นให้ร่วมสร้างเเต่งเติมต่อ ก็ไม่ใช่เรื่องเเปลก

บางคนรู้เเล้ว เคยอ่านเขียน เล่นโน๊ตมามากมาย เเต่ก็เปลี่ยนวิธีทำงาน ซึ่งน่าจะมีผลมาจากเครื่องมือเทคโนโลยี องค์ความรู้ต่างๆในยุคมัยที่เกิดขึ้นที่เปลี่ยนไปมีผลต่อการถ่ายโอนข้อมูล วัฒนธรรมการสื่อสาร

โน๊ตบางโน๊ตเกิดจากการทดลองวางดู หลายๆเสียงเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการ เเต่เครื่องบันทึก เทคโนโลยีทำให้เราเกิดการทดลองอะไร ในการสร้างองค์ประกอบของเสียงเเบบใหม่ๆ ก็จะมีเสียงเเปลกๆ ดนตรีทดลองเกิดอะไรขึ้นใหม่ๆมากมายในยุคนี้


ความจำเป็นที่ต้องมานั่งอ่านโน๊ต เเล้วเล่นร่วมกัน มีความจำเป็นสำหรับดนตรีเเบบเเผนพวกคลาสสิค หรือ อะไรบางอย่าง ที่บางทีเราอาจต้องเคารพผู้ประพันธ์95 คนเล่น 5

เเต่ดนตรีอีกบางอย่างเคารพผู้เล่นมาก ไม่มีเเบบเเผนเเน่นอน ฟัง ทำความเข้าใจ เเล้วปฏิบัติเเบบฉับพลัน เช่นดนตรีเเจ๊ส อาจมองคุณค่าการประพันธ์ 30 เเต่กับผู้เล่นกลับ เป็น 70 หรือกว่านั้น

เวลาใช้งานจริง ในการเเสดงสด บรรเลงร่วมผู้อื่น ประพันธ์ ...ผมก็ไม่สนหลักการทฤษฏีอะไรเลย เรียนรู้ เเล้วหล่อหลอม ลบลืมมันให้กลายเป็นธรรมชาติ
ให้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าใจองค์ประกอบของภาษาสื่อสารรูปเเบบหนึ่ง


ทำยังก็ได้เสียงคือปลายทาง

ไม่ว่าที่มาจะอย่างไร ในผลสุดท้าย......คือ การสื่อสาร เข้าไปทางประสาทสัมผัสทางการได้ยินครับ


จะทำยังไงก็ได้ เพื่อให้เกิดการสื่อสารอารมณ์กับผู้รับฟัง จะอ่านเเล้วเล่น นั่งทางในเล่น เมาเเล้วตีลังกาเล่น


ทำยังก็ได้เสียงคือปลายทาง


ความจำเป็นหรือไม่อยู่ที่เรา นำเข้ามา เเละ จะนำออกไปกับใคร รูปเเบบไหน


นักวิเคราะห์ ผู้มีจินตนาการ ผู้มีสมาธิ สติที่เท่าทัน อาจจะสื่อสารเล่าเรื่อง หรือ เเต่งนิทานนออกมาได้ดีประเทืองโลก

โดยบางครั้ง อาจไม่เคยอ่านนิทานเรื่องใด ......




รอผู้เข้าใจ หรือ ผู้เชี่ยวชาญมาตอบเถิดครับ ผมเเค่พอเข้าใจในเเบบนึงเท่านั้น

ผมพักผ่อนน้อย คงมีผิดพลาดบ้าง ยังไงก็สุขสันต์วันเเห่งความรักกันนะครับ
............. ;?? ?..............
*.:??*Parradee ...A Journey of Us - ?.:* *.:??*?;??

อย่าไปเอาอะไรกับนักเขียนนิยาย

14-02-2009, 10:19
Website Find Like Post Reply
gman Offline
Senior member
****

Posts: 395
Likes Given: 6
Likes Received: 13 in 10 posts
Joined: 29 Aug 2007
Reputation: 6
#25
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
น้า Maew141 ครับ ผมก็ไม่เคยเรียนทางด้านดนตรีมา ความรู้ที่มีคงน้อยกว่าน้า Maew ด้วยซ้ำเพราะหัวข้อทฤษฎีดนตรีที่น้าพูดถึงผมก็ไม่เข้าใจหรือรู้จักทั้งหมด แต่ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนึงชื่อว่า How Music Really Works ของ Wayne Chase (http://www.howmusicreallyworks.com) ผมยังอ่านได้ไม่หมดแต่ถ้ามีเวลาก็พยายามศึกษาอยู่ครับ ทั้งเล่มที่เค้าอธิบายไม่มีเรื่องการอ่านโน้ตเข้ามาเกี่ยวข้องเลยครับ ผมก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เค้าเขียนจะเป็นแนวทางการสอนทฤษฎีที่ถูกต้องหรือไม่ แต่มันก็ทำให้ผมสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีได้มากขึ้นครับ ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์มากเลย ซึ่งสามารถอ่านได้ฟรี 6 บทที่เว็บเค้าเลยครับ Smile
14-02-2009, 10:37
Find Like Post Reply
ลูกแกะ Offline
Senior member
****

Posts: 687
Likes Given: 0
Likes Received: 0 in 0 posts
Joined: 15 Feb 2008
Reputation: 25
#26
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
เท่าที่อ่านมา
ผมว่า กระทู้นี้มีสาระ มากกว่าแก๊งที่จะเอาผมไปร่วมหัวจมท้ายด้วยเยอะเลยครับ
(เหอๆๆๆๆ)

ดนตรี เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่แสดงอารมณ์ และสื่อสารโดยสัมพันธ์กับเวลา
กล่าวคือ เราไม่สามารถเอาเพลงมาจ้องแล้วบอกได้ว่าดูแล้วรู้สึกอย่างไร
ต่างจากการวาดรูปโดยสิ้นเชิง เพลงๆหนึ่งอาจจะใช้เวลาบรรเลงซัก 3-5 นาที
หากเป็นเพลงเศร้า เวลาที่คนฟังเศร้า อาจจะเข้าใจถึงอารมณ์เพลงมากกว่าเวลาที่คนฟังอารมณ์ดี
เพลงเดิม หากเปิดคนละเวลา อาจได้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป

การสื่อความหมายของเพลง หรืออารมณ์ของเพลงมีวิธีที่แตกต่างกันไป
การเข้าถึงอารมณ์ของเพลง(ของคนฟัง)ก็มีระดับที่แตกต่างกัน
เพลงร้อง เป็นเพลงที่สื่อสารโดยใช้เสียงและภาษา
โดยส่วนใหญ่ ประชากรในประเทศไทย สื่ออารมณ์เพลงและ เข้าถึงอารมณ์เพลง
จากเนื้อร้อง โดยอารมณ์ที่สื่อออกมา จะเป็นไปในทางเดียวกัน
คนฟังไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะเนื้อร้องก็บอกอยู่แล้วว่าอารมณ์เพลงไปทางไหน
แต่จะพบว่ามีหลายครั้งที่ ทำนองและจังหวะ ไปคนละทางกับเนื้อร้อง
จังหวะสนุกสนาน แต่เนื้อร้องออกไปทางเศร้า
และข้อสำคัญ เพลงพรรค์นี้ ถูกจำกัดการสื่อสารด้วยภาษา

เพลงบรรเลง เป็นเพลงที่สื่อสารออกมาโดยเสียงเพียงอย่างเดียว
ความเข้าใจอารมณ์เพลงของผู้ฟังเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่าง
อาจจะมีการสื่อสารออกมาจากท่าทาง การแสดง(performance)

แต่ไม่ว่าจะเป็นเพลงร้องหรือเพลงบรรเลง หากไม่ได้เล่นคนเดียว
การรู้โน้ต จะเป็นวิธีที่จะสามารถบังคับการสื่อสารของวง ให้ไปในทิศทางเดียวกันได้ง่าย
การเล่นคนเดียว โน้ตอาจไม่สำคัญ แต่หากเราจะไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยง่าย
ถ้าเราเขียนโน้ตได้ เราก็ถ่ายทอดความรู้ การเล่นของเรา ต่อไปยังรุ่นต่อๆไป ได้โดยง่าย
นอกจากนี้ การรู้และเข้าใจโน้ตจะทำให้เราสามารถเล่นเพลงที่เราไม่เคยฟังมาก่อนได้ด้วย
http://www.guitarkd.com
ยังอุแว้ๆอยู่ครับ
ว่างๆแวะไปเที่ยวบ้านผมมั่งนะครับ
(This post was last modified: 14-02-2009, 11:25 by ลูกแกะ.)
14-02-2009, 11:09
Website Find Like Post Reply
SARUN Offline
Very Imperfect People
******

Posts: 4,016
Likes Given: 176
Likes Received: 64 in 48 posts
Joined: 29 Aug 2007
Reputation: 53
#27
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
(13-02-2009, 20:32)Maew141 Wrote: ส่วนเรื่องทฤษฏีนี่ผมไม่รู้ว่า ดนตรีไทยสมัยโบราณมีหรือเปล่า
มีครับ??.
นักแต่งเพลงไทยเดิม จะจะแต่งทำนองขึ้นก่อน ซึ่งจะมาจากจินตนการ ล้วนๆ
ใน1เพลงที่คิดค้นทำนองออกมากได้แล้ว จะใช้ทฤษฎี ในเรื่อง
1.การจัดวง ?.(วงมโหรี วงปี่พาทย์มอญ วงเครื่องสาย เป็นต้น) เพื่อให้เหมาะกับ กาละเทศะ
2.ประเภทเพลง?.(เพลงหนึ่งชั้น..สองชั้น..สามชั้น , เดี่ยว , โหมโรง หรือ เพลงเถา เป็นต้น)
3.จังหวะ หรือ หน้าทับ ?.เช่น หน้าทับลาว หน้าทับมอญ หน้าทับจีน หน้าทับปรบไก่ หน้าทับทยอย เป็นต้น
4.ทางเพลง?.อยู่ที่ว่าผู้คิดค้นจะคิดทางเพลงให้ลึกล้ำมากน้อยขนาดไหน ตามแต่ละเครื่องมือที่ใช้ในการบรรเลง จะมีลูกเล่นอะไรได้เสริมเพิ่มแต่งเติมได้บ้าง เช่น ระนาดเอก จะมีการลูกเล่น การตีสง การตีสับ การกรอ การสะบัด เป็นต้น อีกทั้ง ทางเพลงของเครื่องดนตรีในวงที่เป็นลูกคู่กัน เช่น ระนาดทุ้ม ก็จะมีทางเพลง ในการ รับ ล้อ ต่อ ส่ง ให้กับระนาดเอก (ซออู้ คู่กับ ซอด้วง ฆ้องใหญ่ คู่กับฆ้องเล็ก เป็นต้น)


(13-02-2009, 20:32)Maew141 Wrote: แต่......อันนี้ความเห็นส่วนตัวมากๆเลยนะครับ..
ผมว่า ดนตรีไทยมันไม่ไพเราะ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะโตมากับดนตรีแบบตะวันตกหรือเปล่า ?.

ฟังแล้วเพราะ หรือ ไม่เพราะ มันเป็นรสนิยมส่วนตัว เราไม่ว่ากันอยู่แล้วครับ
ผมว่า ดนตรีไทยมันไม่ไพเราะ เป็นเพราะเราๆท่านๆ ยังไม่เรียนรู้การฟัง?.
ดนตรีไทย จัดเป็นประเภท ดนตรีระดับ เพลงคลาสสิก ลองศึกษาซักนิดหน่อย ก็พอจะฟังเป็นแล้วล่ะครับ แต่ดนตรีไทยนั้น เน้นความสามารถพิเศษของนักดนตรีแต่ละเครื่องมือด้วย วิธีการบรรเลงออกมา จะค่อนข้อนข้างเป็นแนวเพลง แจ๊ส จึงอาจจะฟังแล้ว รก ไปหมด?.. จึงสัมผัสกับท่วงทำนองได้ไม่ชัดเจนเท่า kodo ของญี่ปุ่น หรือ ดนตรีพื้นเมืองสเปน แต่ถ้าลองฟังเพลงเดี่ยว (เพลงที่มีเครื่องดนตรีบรรเลงทำนองชิ้นเดียว เช่น เดี่ยวจะเข้ เดี่ยวขิม เป็นต้น) ไม่แน่นะครับ อาจจะถูกจริต ไม่มากก็น้อยล่ะ ?.
เครื่องแต่ขอกระซิบว่า ดนตรีไทยเดิม จะฟังให้เพราะพริ้ง ได้สุนทรียรส ต้องฟัง สดๆ ครับ !!!!!!

(13-02-2009, 20:32)Maew141 Wrote: เรื่องในกรอบ หรือนอกกรอบ ก็น่าคิดนะครับ จะนิยามยังไงว่า แค่ไหนในกรอบ หรือ นอกกรอบ
?.
Rock n roll เมื่อยุค 60? มันคือ นอกกรอบ ?.ปัจจุบัน คือ ในกรอบ ไปซะแล้ว
Hard Rock เมื่อยุค 70? มันคือ นอกกรอบ ?.ปัจจุบัน คือ ในกรอบ ไปซะแล้ว
New Age เมื่อยุค 80? มันคือ นอกกรอบ ?.ปัจจุบัน คือ ในกรอบ ไปซะแล้ว
Death Metal เมื่อยุค 90? มันคือ นอกกรอบ ?.ปัจจุบัน คือ ในกรอบ ไปซะแล้ว
Rap, Hiphop เมื่อยุค 2000 มันคือ นอกกรอบ ?.ปัจจุบัน คือ ในกรอบ ไปซะแล้ว
ผมเดาเอาว่า Elvis Presly , Led Zepplin , Kitaro , Slayer หรือ MC Hammer คงจะลองผิดลองถูก ทดลองทำในสิ่งที่อยากทำ ตามแต่จินตนาการจะพาไป?.แต่ปัจจุบัน ก็มีทฤษฎี อธิบาย วิถีของดนตรีแต่ละชนิด ไปแล้ว?

แนวเพลงใหม่ๆ?.Sound แปลกๆ?. ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆในทุกๆ ปี ก็น่าจะล้วนมาจากการคิดนอกกรอบทั้งนั้น
จะนิยามยังไงว่า แค่ไหนคือ นอกกรอบ?..คงจะตอบว่า ?อย่าขังจินตนการไว้?
สั้นๆ ง่ายๆ แต่สงสัยจะไม่ได้ใจความ

ถ้าเราๆท่านๆ ยังพอจะจำความตอนเด็กๆ ได้ คงรู้สึกได้ว่า มันช่างสนุก มีความสุขยิ่งนัก กับของเล่น หรือกับ เพื่อนๆ เพราะ ไม่รู้ ไม่กังวลและไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ที่มากมายนัก แต่กลับเต็มไปด้วยโลกแห่งจินตนาการ

แต่พอโตขึ้น ได้เรียน ได้ทำงาน มีภาระต้องรับผิดชอบ มีกฎเกณฑ์ในการดำรงชีวิตในสังคมมากขึ้น

ถ้าอยากเล่นดนตรีให้มีความสุขแบบ?อย่าขังจินตนการไว้? ลองกลับไปมีวิธีคิดแบบตอนที่แต่ละคนเคยเป็นเด็กๆ อีกสักครั้ง สิครับ


(13-02-2009, 20:32)Maew141 Wrote: (อันนี้ผมไม่รู้จริงๆนะครับน้า SARUN ไม่ได้ถามหาเรื่อง Rolleyes ?.
แหม?.คิดมากไปได้ ผมกลับยินดีด้วยซ้ำ ที่ได้สนทนา กับ ระดับ ดร.
หาเรื่อง!!! ต้องแบบน้ายอดเยี่ยม หรือ น้ากะทะ สิครับ ((ชอบหาเรื่อง ฮาๆ มาใส่ตัว?))


(13-02-2009, 20:32)Maew141 Wrote: ส่วนพวก guitar hero พันธุ์ร็อค นั้น ผมนึกๆแล้วก็คล้อยตามอย่างว่าง่าย
โดยธรรมชาติของแนวร็อค จะหาเอาความสุนทรีย์ทางดนตรีคงลำบาก
ก็ต้องอาศัย ความดิบ ความมันส์ เร้าอารมณ์คนดู ให้เป็นที่โจษขาน ถ้าทำไม่ได้ก็คงจะดังยาก

อ๊ะๆๆๆ?.อย่าเพิ่งคล้อยตามครับ?..
ผมเองกลับ ไม่ค่อยนิยม guitar hero พันธุ์ร็อค ที่อาศัยความดิบ ความมันส์ เร้าอารมณ์
มากเท่ากับ guitar hero พันธุ์ร็อค ที่ สำเนียงหวานๆ วลีสวยๆ หรือ ท่วงทำนองล้ำลึก
ว่าไม๊???
*?*?,
?,,?*?*?
?*?,,?*?*?
?
?

@_@~??"If I leave here tomorrow" ...Sad ??~@_@
(This post was last modified: 14-02-2009, 11:52 by SARUN.)
14-02-2009, 11:31
Find Like Post Reply
Tingnal Away
Posting Freak
*****

Posts: 902
Likes Given: 1
Likes Received: 18 in 14 posts
Joined: 28 Aug 2007
Reputation: 21
#28
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
งดออกเสียงเจ้ามะคะ Big Grin
สุดท้ายก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ
14-02-2009, 13:40
Website Find Like Post Reply
โฟล์คน้อย Offline
เจ้าสำนักเสี้ยม! อิอิ..
******

Posts: 1,220
Likes Given: 0
Likes Received: 19 in 9 posts
Joined: 29 Aug 2007
Reputation: 21
#29
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
โน๊ต และทฤษฏีดนตรี.. จะว่าไปแล้วก็เหมือนกับการที่เราใช้ชีวิตประจำวันนะครับ

การที่คนเราเล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง..
ก็หมายความว่าเราเริ่มที่จะหัดพูดภาษาอีกหนึ่งภาษา
เหมือนเด็กที่เริ่มเรียนรู้ภาษา เรียนรู้ที่จะสื่อสารกับคนอื่น..

โดยใช้โน๊ต.. เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้เหมือนตัวอักษรในภาษาต่าง ๆ

เพราะฉะนั้น..โน๊ต.. ก็คือตัวอักษร.. ที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน..
อ่านโน๊ตได้.. ก็เหมือนการอ่านหนังสือได้อีกหนึ่งภาษา..
เหมือนการอ่านภาษาไทยได้.. อ่านภาษาอังกฤษออก..
แต่จะมีความเข้าใจมากน้อย.. ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง..

แต่อ่านโน๊ตได้.. ก็ใช่ว่าจะเข้าใจในทฤษฏี..

ถ้าไม่คิดจะศึกษาเรื่องทฤษฏี.. ก็เหมือนการที่เราสามารถพูด-อ่านได้บ้าง
มีความเข้าใจในระดับหนึ่ง.. แต่ไม่สามารถต่อยอดในเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น..
เรื่องบางเรื่องที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น
เหมือนรู้จักตัวเลข.. แต่ไม่ชอบเรื่องคำนวน..
ชีวิตก็ยังสามารถดำเนินไปตามปกติ.. ซื้อของ.. บวก ลบ คูณ หาร ได้..
แต่คงจะไปเรียนต่อเพื่อเป็นวิศวกร นักบัญชี หรือนักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้
เพราะอาชีพเหล่านี้ต้องใช้การคำนวนที่เพิ่มขึ้น..
เหมือนดนตรีบางแขนงที่ต้องใช้เรื่องทฤษฏีเข้ามาช่วยในการทำความเข้าใจ..
ในเรื่องที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น..

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น.. มันก็อยู่ที่ว่า.. ตัวของผู้ที่เริ่มเล่นดนตรี.. มีจุดมุ่งหมายอย่างไร..

อยากเรียนรู้ภาษาอังกฤษ.. เพื่อสามารถพูดกับชาวต่างชาติได้.. ถึงแม้อ่านภาษาอังกฤษไม่ออกก็ไม่เป็นไร..
ก็หมายความว่า.. มีความสุขกับการเล่นดนตรี.. แต่อ่านโน๊ตไม่ได้.. ก็ยังมีความสุขที่ได้เล่น..
มีความสุขที่ได้สื่อสารกับผู้ฟัง.. หรือมีความสุขที่ได้สื่อสารกับตัวเอง..

แต่หากอ่านโน๊ตได้.. ก็เหมือนกับเริ่มอ่านภาษาอังกฤษออก.. สามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น..
สะดวกขึ้น.. เพราะมีตัวหนังสือถ่ายทอดเรื่องราวให้ศึกษา.. เหมือนตัวโน๊ต.. ที่ถ่ายทอดเรื่องราวดนตรีแขนงต่าง ๆ
เราสามารถจดจำ.. บันทึกสิ่งต่าง ๆได้.. อย่างน้อยก็สะดวกขึ้นกว่าการท่องจำ..
มีความสะดวกสบายในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างหนึ่ง..

ส่วนเรื่องทฤษฏีดนตรี.. ก็คือ.. สิ่งที่ช่วยอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ที่มาที่ไป
ช่วยสร้างความเข้าใจต่าง ๆในภาษาดนตรี.. จะมากน้อย.. ก็แตกต่างกันไป..

เหมือนการที่เรารู้เรื่องไวยากรณ์.. แกรมม่า.. ศัพท์เทคนิคเฉพาะของวิศวกร..
ของสาขาอาชีพต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ.. ช่วยให้การเรียนรู้ สื่อสาร.. อธิบายได้ง่ายขึ้น
ก็คล้ายกับนักดนตรี.. ที่รู้เรื่องเสกลบ้าง.. ประเภทของดนตรีบ้าง.. ทางคอร์ดบ้าง..
แต่ละคนก็คล่องแคล่วในดนตรีแขนงต่าง ๆ แตกต่างกันไป

หากแต่ทฤษฏีก็เป็นตัวช่วยให้การพูดคุย.. อธิบาย.. สื่อสารได้ง่ายขึ้น..

.......................................

นักดนตรีหลายคนไม่รู้จักโน๊ต.. แต่รู้จักทฤษฏีดนตรีผ่านการเล่น การฝึกฝน.. โดยไม่รู้ตัว..

หลายคนรู้จักเสียง.. โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด.. แต่ไม่รู้ตำแหน่งของที่ตั้งบนคอกีตาร์.. (ขอพูดถึงเฉพาะกีตาร์นะครับ..)
ไม่รู้ว่าโน๊ตตัวไหนหน้าตาเป็นอย่างไร.. บนบรรทัด 5 เส้น..
รู้แค่ว่า.. เมื่อเล่นเสียงนี้แล้ว.. ควรจะต้องต่อด้วยเสียงนี้
แล้วถ้าเราถามต่อว่า.. รู้ได้อย่างไรว่าควรจะต้องเป็นเสียงไหน..
ก็มาจากการลองผิดลองถูกล่ะครับ.. ประสบการณ์นั่นหล่ะคือคำตอบ..

บางคนอาจสบายขึ้นมาหน่อย.. ก็ตรงที่ได้เคยฝึกไล่เสกลเป็นบล็อคนิ้วมาบ้าง

หลายคนอาจได้ยินเสียงในหัว.. บางคนได้ยินเสียงโน๊ตตัวต่อไปก่อนที่จะเล่นด้วยซ้ำ..
หลายคนเล่นไปโดยไม่คิด.. หลายคนคิดก่อนที่จะเล่น..
หลายคนเลือกโน๊ตที่จะใช้.. หลายคนปล่อยให้นิ้วพาไปไม่คิดจะเลือกโน๊ต..

ไม่ผิด.. ไม่ถูก.. แล้วแต่ใจคนครับ
ส่วนเหมาะสมหรือไม่.. อยู่ที่กาละเทศะ.. และเวลาสถานที่
กับเพื่อนร่วมวง.. นักดนตรีร่วมเล่นครับ..

ทั้งหมดที่กล่าวสามารถบอกเป็นทฤษฏีได้..
เพราะทฤษฏีคือสิ่งที่ตามมาทีหลัง..
หลังจากที่มนุษย์พยายามวิเคราะห์ เพื่อใช้อธิบาย บันทึก เรียนรู้.. สิ่งที่ตนได้เล่น..
เพื่อการถ่ายทอด.. พัฒนา.. เผยแพร่.. ไม่ให้สูญหาย.. หรือผิดเพี้ยน..
หรือเพื่อแม้กระทั่งสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในอนาคต..

เล่นเสียงนี้แล้ว.. ทำไมจึงควรตามด้วยเสียงนี้..
เมื่อเราเพิ่ม หรือลดเสียงโน๊ตตัวนี้ในเสกล.. อารมณ์ของเพลงจะเป็นเช่นไร..
เมื่อเราจับคอร์ดแบบนี้.. แล้วลองสลับกลับหัวกลับหาง.. เสียงที่ออกมาเป็นเช่นไร..
ทำไม่ดนตรีบลูส์.. ถึงมีอารมณ์อย่างนี้.. ทำไมจึงมีเสียงที่โหยหวน..
และจะทำเสียงให้โหยหวน.. ได้อย่างไร..

ทั้งหมดทั้งหลาย.. อาจต้องใช้ทฤษฏีเพื่อการอธิบาย..
การอธิบายทฤษฏีอาจไม่ต้องใช้ตัวโน๊ต หรือบรรทัด 5 เส้นทุกครั้งไป..
แต่อย่างน้อยควรรู้จักเรื่องบันไดเสียง หรือเสกล..
หรือเจ้า 7 เสียงมหัศจรรย์ไว้บ้าง
ก็เจ้า... โด เร มี ฟา ซอล ลา ที.. นี่หล่ะครับ..

เพราะ 7 เสียงมหัศจรรย์นี่หล่ะ.. คือ.. สิ่งที่มนุษย์รวบรวม.. ศึกษา.. ถ่ายทอดต่อ ๆกันมา..
คือ.. จุดเริ่มต้นของทฤษฏีต่าง ๆที่ตามมาให้คำตอบในสิ่งที่มนุษย์ค้นพบ..

ทฤษฏีคือสิ่งที่พยายามอธิบายเรื่องที่ยาก.. ให้ง่าย..
เพียงแต่ต้องให้เวลาในการทำความเข้าใจค่อนข้างมากในตอนแรก..


แต่โดยส่วนใหญ่.. มันจะทำให้เรื่องที่ง่าย.. กลายเป็นยากได้เหมือนกันนะครับ..
ผมก็คนนึงล่ะ.. อิอิ..


.....................................................

ส่วนเรื่องของบีโธเฟ่น..

นักประพันธ์เพลงคลาสสิค.. นักดนตรี.. ที่ผ่านการเรียนรู้.. การฝึกฝน.. มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ..
จะสามารถเขียนอ่านโน๊ตได้.. โดยไม่ต้องใช้เครื่องดนตรี.. และสามารถได้ยินเสียงโน๊ตที่ตนเขียน..
หรือแม้กระทั้งบอกได้ว่า.. เสียงที่ได้ยินนั้น.. คือเสียงโน๊ตตัวใด.. มีหลายคนครับ..

แต่คนที่สามารถเขียนเป็นสกอร์ และร่วมเล่นบรรเลงเพลงที่ตนเองแต่งโดยที่หูก็ไม่ได้ยินด้วยแล้ว
คงจะมีแต่บีโธเฟ่นล่ะครับ..

ส่วนเรื่องของการได้ยินเสียงในหัว.. หรือสามารถรู้ว่าเสียงใดเป็นโน๊ตตัวไหน..
คีย์อะไร.. คอร์ดอะไร..
สามารถเรียนรู้ได้ครับจากการฝึก Ear Trainning

ไม่ว่าจะด้วยการไปเรียน.. หรือการแกะเพลงมาก ๆ..
ไม่ว่าจะโดยตั้งใจ.. หรือค่อย ๆซึมซับโดยไม่รู้ตัว..

แต่จะเชี่ยวชาญแค่ไหน.. เป็นประโยชน์มากน้อยสำหรับใคร.. จำเป็นมากน้อย..
อันนี้ก็สุดแล้วแต่ครับ..


..ถ้าผิดพลาดประการใด.. ก็ต้องขออภัยนะครับ..




เนื้อเพลงพร้อมคอร์ดกีต้าร์ / guitarandchord.com
https://www.facebook.com/guitarandchord.in.th
...............................................................
15-02-2009, 15:07
Find Like Post Reply
niroot krapkaew Offline
Member
***

Posts: 145
Likes Given: 0
Likes Received: 0 in 0 posts
Joined: 17 Aug 2008
Reputation: 7
#30
RE: นักดนตรีระดับโลกที่ไม่รู้โน้ต
ครับขออนุญาตเปรียบเทียบกับ ภาพวาดหน่อยนะครับ
ศิลปินนักวาดภาพบางท่าน ไม่เคยเรียน แต่ก็ถ่ายทอดวาดภาพออกมาได้ดีอย่างเหลือเชื่อ
มันก็เหมือนกับ
ถ้าอ่านแผนที่เป็นมันก็ออกจากป่าหรือถึงเป้าหมายได้ไวกว่าคนที่อ่านแผนที่ไม่เป็น
แต่ก็เป็นไปได้ครับว่าอ่านแผนที่ไม่ออกแต่ช่างสังเกตุ ช่าจดจำก็ อาจทำได้เหมือนกัน
ส่วนผมก็อ่านโน๊ต ไม่ออกเหมือนเดิม เลยต้องเล่นวกไปวนมาอยู่ในป่ามา 16 ปีแล้ว
15-02-2009, 16:02
Find Like Post Reply


Forum Jump:


Users browsing this thread:

Contact Us | NimitGuitar | Return to Top | | Lite (Archive) Mode | RSS Syndication