ขอบคุณน้าpiggyprince..ครับ.. และต้องขอโทษน้าๆ ท่านอื่นด้วยที่ปล่อยให้รอนาน
ความจริงแล้วผมตั้งใจจะเล่าต่อเนื่องกันตั้งแต่เมื่อวันเสาร์
แต่ติดธุระนิดหน่อยครับ.. เลยอาจทำให้หลายคนต้องหงุดหงิดใจ
เอาล่ะมาเข้าเรื่องกันต่อ..
........................................
ผมนั่งคิดอยู่หลายตลบว่าจะอธิบายยังไงให้ง่าย..
ก็เลยมาคิดว่า.. เราคุยกันแบบบ้านๆ ไปเลยดีกว่า..
เพราะถ้านั่งอธิบายแบบละเอียด.. ก็มีเวบอื่นๆ เขียนกันไว้พอสมควรแล้ว
ถ้าอย่างนั้นเรามาเริ่มกันเลย..
วิธีการ Transpose แบบที่ 1
ถ้าจะพูดถึงเรื่องการ Transpose.. ทุกคนที่เริ่มมีความชำนาญกันบ้างแล้ว
คงจะต้องนึกถึงเจ้าวงกลมมหัศจรรย์.. circle of fifths หรือ circle of 5th
ซึ่งมีหน้าตาแบบนี้ครับ..
ซึ่งเจ้าวงกลมวิเศษนี้มีคุณประโยชน์มากในทางทฤษฏี
สามารถอธิบายอะไรได้หลายอย่าง..
แต่วันนี้เราจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมันในเรื่องของทฤษฏี
แต่เราจะนำมันมาช่วยเราในเรื่องการปรับเปลี่ยนคีย์ต่างๆ
เปลี่ยนคอร์ดยากๆ สำหรับใครหลายคนให้เป็นเรื่องง่ายๆ ซะเลย..
วิธีการใช้งานก็ไม่ยุ่งยากครับ.. เพียงแต่นับไปนับมาเท่านั้นเอง
อุปกรณ์ก็คือ
1. เพลงที่เราต้องการเปลี่ยนคีย์เปลี่ยนคอร์ด และเพลงนั้นต้องมีคอร์ดด้วยนะครับ ไม่ใช่เนื้อเพลงเปล่าๆ
2. ดินสอ หรือปากกา.. เพื่อที่เราจะได้เขียนชื่อคอร์ดใหม่ที่เราเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว
................................
เริ่มต้นเราก็ต้องรู้ก่อนว่า.. เราอยากเล่นคีย์อะไร(ในกรณีที่เรารู้จักเรื่องคีย์ของเพลงบ้าง)
แต่ถ้าเราไม่รู้เรื่องคีย์ต่างๆ.. เราก็อาจจะลองเ่ล่นเพลงนั้นดูก่อนว่าเสียงมันสูง หรือต่ำไปบ้างไหมสำหรับตัวเรา
โดยการเล่นคอร์ดในท่อนแรกก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เรารู้ว่าเราร้องไหวหรือไม่
สมมติว่าเพลงนั้นมีกลุ่มคอร์ดแบบนี้ครับ..
D/Bm/Em/A
เราลองเล่นดูแล้วรู้สึกว่าจับคอร์ดไม่ถนัด หรือว่าต้องใช้เสียงร้องสูงเกินไป
เราก็อาจจะคิดว่า.. ถ้าได้กลุ่มคอร์ดใหม่.. ที่ช่วยให้เราร้องเสียงต่ำลงมาได้กว่านี้..ก็น่าจะดี
ดังนั้นเราก็ลองใช้เจ้าวงกลมวิเศษนี้มาช่วยในการเปลี่ยนคอร์ดกันครับ..
ส่วนวิธีนั้น.. เราจะเห็นว่าในวงกลมจะมีตัวอักษรต่างๆ ทั้งวงนอกและวงใน
ซึ่งในทางทฤษฏีก็แทนเรื่องของคีย์เพลงครับ วงนอกหมายถึงคีย์เมเจอร์ต่างๆ เช่น
คีย์ C ,คีย์ G ,คีย์ D ฯลฯ
ส่วนวงในก็แทนคีย์ต่างๆ ในทางไมเนอร์..
แต่เราจะยังไม่ไปข้องเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้กัน..
เราจะใช้วงกลมนี้เพียงการนับไปนับมาเท่านั้น..
โดยวิธีการนับนั้น..
ถ้าอยากได้เสียงต่ำ.. ให้นับถอยหลัง (ทวนเข็มนาฬิกา)
ถ้าอยากได้เสียงสูงขึ้น.. ให้นับไปข้างหน้า (ตามเข็มนาฬิกา)
เอาล่ะครับ.. ตอนนี้ลองเล่นดูแล้ว.. สมมติเรารู้สึกว่ากลุมคอร์ดที่ให้มา.. เสียงมันสูงไปหน่อย
เวลาร้องเพลงไปด้วยแล้วรู้สึกต้องใช้การออกเสียงที่สูง ต้องตะโกน
ดังนั้น.. เราจึงต้องการกลุ่มคอร์ดที่มีเสียงต่ำลง เพื่อที่เราจะได้ร้องเพลงได้ง่ายขึ้น..
ไม่ต้องตะโกนเสียงแหบเสียงแห้งให้เจ็บคอ..
ในที่นี้.. ผมขอเลือกกลุ่มคอร์ดใหม่ให้เสียงต่ำลงอีกหน่อยดีกว่า
ผมเลือกคอร์ดแรกเป็น คอร์ด C ครับ.. จับก็ง่าย.. ร้องก็สบาย..
มาดูกันครับ.. คอร์ดต้นฉบับในเพลงคือ..
D/Bm/Em/A
ผมเลือกใช้คอร์ดแรกเป็นคอร์ด C.. เรามาลองนับถอยหลังกลับไปกันครับว่านับไปกี่ช่อง..
... เราจะเห็นว่าถ้าเรานับถอยหลังจาก D ถอยกลับไปถึง C จะได้เท่ากับ 3 ช่อง..
ก็หมายความว่า.. ทุกคอร์ดในเพลงนี้ หรือกลุ่มคอร์ดนี้ต้องนับถอยหลังกลับไปสามช่อง.. ทุกตัว!!
D.. นับถอยหลังกลับไปสามช่องจะได้ C
Bm.. นับถอยหลังกลับไปสามช่องจะได้ Am
Em.. นับถอยหลังกลับไปสามช่องจะได้ Dm
A.. นับถอยหลังกลับไปสามช่องจะได้ G
สรุปว่า..เราจะนับทุกๆ คอร์ดในเพลงต้นฉบับที่เราเลือก.. โดยการนับถอยหลังไปสามช่องทุกคอร์ด.. แล้วก็จดคอร์ดใหม่ที่เราเปลี่ยนแล้วลงไปในเพลงนั้นๆ
ทีนี้จากตัวอย่าง.. เราก็จะได้คอร์ดทั้งหมดดังนี้ครับ..
C/Am/Dm/G
เพียงเท่านี้เราก็ได้กลุ่มคอร์ดใหม่.. ที่มีเสียงที่ต่ำลง.. จับคอร์ดง่ายขึ้น.. ร้องเพลงสะดวกขึ้น..
ลองนำไปใช้กันดูนะครับ.. จะ print รูปเจ้าวงกลมนี้แล้วนำติดตัวไว้เผื่อได้ทดลองใช้งาน
ในการเปลี่ยนคอร์ดต่างๆ กันดูก็ได้ครับ..
สังเกตุง่ายๆ นะครับ.. ไม่ว่าจะเริ่มจากคอร์ดไหนก็แล้วแต่..
ให้นับถอยหลังหรือเดินหน้าไปเท่ากันทุกตัว..
เท่านี้เราก็จะได้คอร์ดใหม่ และคีย์ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับเราแล้วครับ..
เดี๋ยวคราวหน้าเราจะมาอธิบายกันต่อนะครับ
เช่น.. ถ้าเป็นคอร์ดประเภทเหล่านี้ล่ะ.. Cmaj7.. Am7.. Dm7.. G7
เราจะทำยังไง.. เพราะวงกลมที่ให้มาเห็นมีแต่พวกคอร์ดเมเจอร์กับไมเนอร์เท่านั้นนี่นา..
ลองคิดกันไว้ดูก่อนนะครับ..
บอกใบ้ให้ก็ได้ครับว่า.. มันก็ใช้วิธีการเดียวกันนั่นล่ะ..
ให้ยึดชื่อคอร์ด.. หรืออักษรตัวหน้าไว้.. เท่านนั้นเอง..
ไว้คราวหน้ามาคุยกันต่อนะครับ..
ขอบคุณครับ
โฟล์คน้อย..
....................................................