ตัวต่อไปนี่อยู่ในกรุมาหลายปีแล้วครับแต่ขอนำมาลงเป็นตัวที่สองเพราะผมขึ้นหัวข้อกระทู้ไว้ว่า "งานศิลปะของ K. Yairi" ซึ่งรุ่นนี้น่าจะเป็นรุ่นที่เด่นที่สุดรุ่นหนึ่ง
เรื่องการทำกีต้าร์ราคาสูงให้กลายเป็นงานศิลปะนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่การทำกีต้าร์ราคาถูกให้เป็นงานเอกลักษณ์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมันไม่มีทางคุ้มในเชิงพานิชย์ครับ
Kazuo Yairi ใด้รับแรงบันดาลใจมาจาก sushi rice bowl ที่ต้องใช้ไม้พิเศษคือไม้ hinoki (japanese cypress) มาทำเท่านั้นเพราะเป็นไม้ที่เก็บความร้อนใด้ดีที่สุด ไม้ชนิดนี้พบใด้ในประเทศญี่ปุ่นที่เดียวในโลก (เหมือนกับไม้ koa ที่มีในฮาวายเท่านั้น) และในสมัยโบราณนิยมนำมาใช้สร้างพระราชวังและวัดแต่เดี๋ยวนี้เขาเอามาทำ hot tub กัน
VIDEO
Yairi OK-1 ออกวางตลาดในปี 1989 พร้อมองประกอบใหม่หลายอย่างในราคาถูกแบบไม่น่าเชื่อครับ
กีต้าร์รุ่นนี้นอกจากทรงที่ไม่เหมือนใครแล้วก็ยังมี idea ใหม่ๆที่ตอนนั้นยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนอีกสองอย่างคือ
1. RELIC FINISH
รุ่นนี้เป็นกีต้าร์ขนาด body เล็กเขาจึงเลือก solid cedar เพื่อให้เสียงกลางเด่นแต่ Kazuo แกต้องการทำ relic ให้หน้าตาเหมือนอ่างเก่าๆแกเลยเอา solid spruce มาปะทับ cedar และใช้สิ้วขุดให้เป็นรอยเหมือนไม้กระดานเก่า๐ที่โดนแดดโดนฝนมาเป็นร้อยปี ( cedar ไม่มีเสี้ยนเลยใช้ไม่ใด้) กีต้าร์รุ่นนี้เลยเป็น relic finish รุ่นแรกของโลกก่อนที่ Fender จะผลิตมาขายอีกเจ็ดปีต่อมา (K. Yairi เรียก finish แบบนี้ว่า distressed finish ครับ)
2. SPLIT SADDLE PASSIVE PICKUP SYSTM
K. Yairi เริ่มใช้ระบบ saddle แยก 6 ชิ้นกับกีต้าร์ใหม่หลายรุ่นอย่างเช่น CE, WY-1, DY-88 ในปี 1989 แต่มีอยู่รุ่นเดียวที่เป็น passive คือรุ่นนี้ครับ สัญญาณออกแอมป์ดังไม่แพ้ active เลยครับ
ลองดูหน้าตาก่อนครับ
กีต้าร์นั้นเราตัดสินกันที่เสียง ตัวนี้เสียงเปล่าๆนั้นก็เสียงดังฟังชัดแต่เขาเน้นเฉพาะเสียงกลางเป็นหลัก ผมเลยอัดเสียงเปล่าจากตำแหน่งเดิมแต่เสียบแอมป์ Vox AGA150 ไว้ด้วยเพื่อ blend เสียงออกแอมป์เข้ากับเสียงเปล่าครับ
VIDEO